ปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้จัดรายการกีฬาในปัจจุบัน

Main Article Content

ศุภกิจ พรมฉิม
สุธิชา ภิรมย์นุ่ม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้จัดรายการกีฬาในปัจจุบัน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) นักจัดรายการกีฬาในสถานีโทรทัศน์ และ นักจัดรายการกีฬาออนไลน์ ประเภทละ 3 คน รวม 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีช่วยให้การทำงานง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมีการทำงานทั้งรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่ประสานกัน ทำให้การทำงานเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อโลกหมุนไปทำให้เทคโนโลยีหมุนตามไปด้วยและย่อมเกิดความแตกต่างระหว่างอดีตและปัจจุบัน ความแตกต่างในแง่ของการนำเสนอข่าวที่สามารถพูดคุยสอบถามโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริม ทำให้ขั้นตอนในการทำงานลดน้อยลงจากเดิมเคยทำงานเป็นขั้นตอน ปัจจุบันลดขั้นตอนการทำงานมาเหลือเพียงเฉพาะขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการทำงานของผู้จัดรายการได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาททำให้เกิดความรวดเร็วและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ข้อดีของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานคือ ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ลดภาระงาน ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน เหมาะกับสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ส่วนข้อเสียที่เกิดขึ้นคือ การที่จะต้องลดพนักงานลง ส่งผลกระทบต่อคนที่ทำงานในวิชาชีพ และกระบวนการค้นหาข่าวที่ต้องมีการคัดกรองข่าวก่อนที่จะนำเสนอ เพราะทุกอย่างรวดเร็วและเผยแพร่ไปอย่างง่ายดาย ทำให้ต้องมีวิจารณญาณทั้งผู้เสนอข่าวและผู้รับสาร ปัจจุบันมีการปรับตัวมากยิ่งขึ้นจากอดีต ผู้จัดรายการกีฬาต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาในปัจจุบัน ไม่ยึดติดกับเทคโนโลยีแบบเดิม ๆ ไม่กลัวที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้นักจัดรายการกีฬาได้เรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี


สมัยใหม่ได้ เพียงแค่อย่าทำตัวเป็นบุคคลที่เกียจคร้าน ไม่พยายามแสวงหาความรู้ใหม่ เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
มองเทคโนโลยีเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก ปรับตัวอยู่กับเทคโนโลยี และพัฒนาตัวเองไปควบคู่กับเทคโนโลยี

Article Details

How to Cite
พรมฉิม ศ., & ภิรมย์นุ่ม ส. (2022). ปัจจัยด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้จัดรายการกีฬาในปัจจุบัน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 1(1), 97–108. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/183
บท
บทความวิจัย

References

โกศล จิตวิรัตน์. (2561). โมเดลการปรับตัวขององค์กรธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการทำลายล้างของเทคโนโลยีดิจิทัลในศตวรรษที่ 21. วารสารสมาคมนักวิจัย. 23 (2) : 74-88.

จักรกฤษณ์ อินทสงค์. (2560), วิวัฒนาการของเทคโนโลยี. สืบค้นจาก https://www.muk.ac.th/. เผยแพร่

เมื่อ 10 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565.

ธวัลรัตน์ ศรีจันทร์กาศ และคณะ. (2563). คุณลักษณะที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผู้ประกาศข่าวในรายการประเภทเล่าข่าวทางสถานีโทรทัศน์. วารสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 10 (1) : 39-49.

พรพรรณ ไวทยางกูร (2561). การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี. สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร.

ภาคภูมิ เอี่ยมจิตกุศล (2563). เทคโนโลยี AI มีผลกระทบต่อการจ้างงานหรือไม่ และแรงงานต้องเตรียมพร้อมปรับตัวอย่างไร. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/th/article-view/

ai-employment. เผยแพร่เมื่อ 23 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565.

ภานุพงศ์ เสกทวีลาภ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจด้านพฤติกรรมการใช้ Cloud storage ในระดับ

Software-as-a-Service (SaaS) ของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตพื้นที่เศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภิญโญ ส่องแสง. (2562). การปรับตัวเพื่อการอยู่รอดของสื่อทีวีไทยในยุควิกฤตสื่อทีวี. สืบค้นจาก https:/intrend. trueid.net. เผยแพร่เมื่อ 10 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565.

เมธาพร นามศรี และคณะ. (2563). ผลกระทบของทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อประสิทธิผลในการบริการข้อมูลทางการบัญชีของนักบัญชีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12 (2) : 71-86.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2559). รายการกีฬา : เนื้อหารายการสำหรับโทรทัศน์ดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 11 (2) : 201- 216.

สัจจวัฒน์ จารึกศิลป์. (2564). การดำเนินธุรกิจผู้ประกอบการด้านกีฬาในยุคการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล

อย่างพลิกผัน. วารสารสหศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 21(1) : 2-13.

อังสุมารินทร์ ภู่สีม่วง. (2557).เทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/stangsumarin/assignment-6/. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565.

Ooi, & Tan. (2016). Mobile technology acceptance model: An investigation using mobile users to explore smartphone credit card. Expert Systems with Applications, 59 : 33-46.