การจัดการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

วันเพ็ญ สุวัฒโนดม
ภมร ขันธะหัตถ์
ธนิศร ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและภาวะผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ที่มีภูมิลำเนาตามบัตรประชาชน
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ในการวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านผลลัพธ์การดำเนินการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
(= 3.98) รองลงมา คือ ด้านการวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ( = 3.67) และด้านการให้ความสำคัญ
กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( = 3.65) ตามลำดับ ส่วนภาวะผู้นำ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.49)
โดยพบว่า ด้านความซื่อสัตย์อย่างจริงใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 3.88) รองลงมา คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ( = 3.61) และด้านการพัฒนาตนเอง ( = 3.58) ตามลำดับ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ได้ =3.118 + 0.086 (การมีบารมี) + 0.076 (การมุ่งเน้นบุคลากร) +0.050 (การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)+ 0.024 (การนำองค์การ) อย่างไรก็ตามควรปรับปรุงและพัฒนาองค์การอย่างเหมาะสม เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน มีการจัดการเชิงกลยุทธ์ ทบทวน ประเมิน บูรณาการเพื่อสร้างความเป็นเลิศขององค์การที่ยั่งยืน

Article Details

How to Cite
สุวัฒโนดม ว. ., ขันธะหัตถ์ ภ. ., & ยืนยง ธ. (2023). การจัดการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(2), 61–77. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/2143
บท
บทความวิจัย

References

นันทนีย์ กมลศิริพิชัยพร. (2544). การพัฒนาสังคม. จันทบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สถาบันราชภัฏราไพพรรณี.

พิเชษฐ์ เฉลิมตระกูล. (2561). ภาวะผู้นำการบริหารประสิทธิผลของเทศบาลตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ. สถาบัน เทคโนโลยีมหาสุวรรณภูมิ.

รพีพร ธงทอง. (2561). ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(45).

วาสนา เลิศมะเลา และคณะ.(2561).การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.สารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร : นิติธรรม.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

สุธีญา พรหมมาก.(2554). ภาวะผู้นำกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา,กองแผนและงบประมาณ. (2553). แผนยุทธศาสตร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2554-2558). นครราชสีมา : เอกสารอัดสำเนา.

อนันต์ โพธิกุล. (2560). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร.วารสารวิทยาการจัดการ.มหาวิทยลัยราชภัฏนครปฐม.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Hinkle, D.E, William, W. & Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4 th ed. New York: Houghton Mifflin.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.