การศึกษาอิทธิพลของทัศนคติ ส่วนประสมทางการตลาด และการรับรู้ด้านประโยชน์และโทษที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกาแฟผสมกัญชาในประเทศไทย

Main Article Content

อาทิชา เพชรพลอย
บำรุง ตั้งสง่า
ชเนตตี พิพัฒน์นางกูร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติ ส่วนประสมทางการตลาด การรับรู้ด้านประโยชน์และโทษ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกาแฟผสมกัญชาในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทัศนคติ ส่วนประสมทางการตลาด และการรับรู้ด้านประโยชน์และโทษ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกาแฟผสมกัญชาในประเทศไทย โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปี ขึ้นไปที่ดื่มหรือเคยดื่มเครื่องดื่มกาแฟผสมกัญชาและอาศัยในประเทศไทย จำนวน 523 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่มกราคม-มีนาคม 2566 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 35-44 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนมีรายได้ 20,000-29,999 บาท มีระดับความคิดเห็นด้านทัศนคติ ส่วนประสมทางการตลาด การรับรู้ด้านประโยชน์และโทษ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกาแฟผสมกัญชาในประเทศไทยที่ดีมากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติ และส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลในเชิงบวกในขณะที่ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์และโทษมีอิทธิพลในเชิงลบต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกาแฟผสมกัญชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และปัจจัยทั้ง 3 ด้าน สามารถอธิบายพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกาแฟผสมกัญชาในประเทศไทยได้ร้อยละ 79.8

Article Details

How to Cite
เพชรพลอย อ., ตั้งสง่า บ., & พิพัฒน์นางกูร ช. (2023). การศึกษาอิทธิพลของทัศนคติ ส่วนประสมทางการตลาด และการรับรู้ด้านประโยชน์และโทษที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกาแฟผสมกัญชาในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(2), 1–15. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/2160
บท
บทความวิจัย

References

กรพินทุ์ ปานวิเชียร. (มกราคม-มิถุนายน 2563). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการใช้กัญชา

เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์”. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. 3(1) : 31-42.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage. [12 มีนาคม 2566].

กองบรรณาธิการเดลินิวส์ออนไลน์. (02 มีนาคม 2566) “คนไทยฮิตบริโภคกาแฟปีละ 7 หมื่นตันหนุนมูลค่าตลาดแตะ

หมื่นล้าน” เดลินิวส์ออนไลน์. [ออนไลน์]. 3 ย่อหน้า. แหล่งที่มา : https://www.dailynews.co.th/

news/2053626/

ชนนิกานต์ สิทธิศักดิ์นวกุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของร้านอาหารญี่ปุ่นบริเวณรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อ้างจาก Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management : Pearson Education.

ชนม์ชุดา วัฒนะธนากร และบุฏกา ปัณฑุรอัมพร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา-กัญชงของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยวุฑฒิ เกตุอุดม. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภัคดีในตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฎฐณิชา ยะมุงคุณ และกตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (มกราคม-มิถุนายน 2565). “ปัจจัยการตลาดในการเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมกัญชาของผู้บริโภคในภาคกลาง”. วารสารบริหารธุรกิจ. 12(1) : 70-81.

ณัฐกร รัตรถาวรกิติ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์ในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

จากกัญชาของผู้บริโภคชาวไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมการจัดการ

การท่องเที่ยวและการบริการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ทานตะวัน ตันติทวีวัฒนา. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้ออาหาร

เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. อ้างจาก Becker, M.H., Maiman, L.A., Kirscht, J.P., Haefner, D.P., & Drachman, R.H.. (1977). "The Health Belief Model and prediction of dietary compliance:

a field experiment". Journal of Health and Social Behavior. 384-366.

บุรพร กำบุญ และคณะ. (2563). "ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร". วารสารสหศาสตร์. 22(1) : 52-66.

ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์. (2562). กัญชากับการรักษาโรค. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://pharmacy.mahidol.ac.th/

th/knowledge/article/453/กัญชา/. [05 ตุลาคม 2566].

ไพลิน เกริกพิทยา. แรงจูงใจที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์แบรนด์ Pomelo. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. อ้างจาก Kotler, P., (2004). “Marketing redefined : Nince top marketers offer their personal definitions”. Marketing News. 15 : 16.

รมย์ธีรา จิราวิภูเศรษฐ์. (2564). “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคของผู้บริโภค

ในยุคดิจิทัล”. วารสาร มจร.เลย ปริทัศน์. 2(2) : 107.

มณฑิตา ปิยะธาราธิเบศร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา

ของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัย

การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม. (2564). คุณสมบัติของกาแฟ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://skm.ssru.ac.th/th/news/view/11. [05 ตุลาคม 2566]

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชานิประศาสน์. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์

วรัญญา ภัทรสุข. (2554). ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิทยา เลิศพนาสิน. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P's) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า

ผ่านแอพพลิเคชั่น AliExpress ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.

วิโรจน์ สุวรรณประไพ. (2565). ทัศนคติที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในหน่วยงานเทศบาลเมืองกระบี่. สารนิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วีรดา ศาสนติวงษ์การ. (2561). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านขายยาเดอะฟาร์มาในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริพงษ์ ไข่มุก. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา-กัญชงในร้านคาเฟ่สำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร สุภโตษะ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเบียร์ในเขตกรุงเทพมหานครลัปริมณฑล. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช. อ้างถึงใน ศิริลักษณ์ คำพึ่ง. (2562). พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการเลือกซื้อโยเกิร์ตแช่แข็งกรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. สารพิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

สินสุข แสงแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในตลาดนัดหัวมุมเกษตรนวมินทร์ เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

สุนิษฐา เศรษฐีธร. (2562). ธุรกิจร้านกาแฟในประเทศไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://fic.nfi.or.th/

upload/market-overview/Rep-Café _15.01.62.pdf. [05 ตุลาคม 2566].

Isoraite, M. (2016). “Marketing mixes theoretical aspects”. International Journal of Research-Granthaalayah. 4(6) : 25-37.

Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management. Upper Saddle River, NJ : Pearson Prentice Hall.

Kris Piroj. (2018). Likert Rating Scales. [Online]. Retrieved from : https://greedisgoods.com/likert-scale-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/. [07 October 2023].

Kukanja, M., Gomezelj Omerzel, D., & Kodric, B. (2017). “Ensuring restaurant quality and guests' loyalty: an integrative model based on marketing (7P's) approach”. Total Quality Management & Business Excellence. 28(13-14) : 1509-1525.

Metcalf, et al. (02 Sep 2021). “Evaluating the Acceptance of Hemp Food in Australian Adults Using the Theory of Planned Behavior and Structural Equation Modelling”. Foods. 10(9) : 2071. Retrieved from : https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34574182/. [05 Oct 2013]

Moges, B. (2021). Factors influencing marketing mix strategy on customer purchase decision the case of Addis bottling water in Addis Ababa. Masters of art in Marketing management. St. Mary's University.

Perner L. (2018). Attitudes. [Online]. Retrieved from: https://www.consumerpsychologist.com/

cb_Attitudes.html. [05 October 2023].

Singh D.P. (2019). Consumer attitudes to functional foods. In Reference Module in Food Science. 1-7 : Elsevier.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper & Row.