ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

ศรีนวล สิงห์มะเริง
สุธาสินี โพธิ์ชาธาร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 224 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.81 ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านค่าตอบแทนของบุคลากรสายสนับสนุน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรสายสนับสนุน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านค่าตอบแทนที่มีผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านสภาพแวดล้อม จากการวิจัยสามารถนำผลที่ได้จากการศึกษาเป็นแนวทางให้องค์กรมาบริหารจัดการเรื่องค่าตอบแทนให้เหมาะสมและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูงสุด

Article Details

How to Cite
สิงห์มะเริง ศ., & โพธิ์ชาธาร ส. (2023). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(2), 30–44. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/2482
บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2565). “รายงานข้อมูลจำนวนบุคลากรเดือนกุมภาพันธ์ 2565.” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://vpress.nrru.ac.th/personnel/files/person/month/

_02/nrru_2565_02.pdf. [22 มีนาคม 2565].

กัลยรัศมิ์ ทิณรัตน์. (2556). ผลกระทบของการบริหารค่าตอบแทนที่มีตอความกระตือรือร้นในการทํางาน

ของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.

จรูญศักดิ์ สุนทรเดชา. (2561). “เทคนิคการบริหารค่าตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ.” วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 5(1) : 43-54.

เจตนิพิฐ สุจิระกุล. (มกราคม – มิถุนายน 2557). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.” วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11(20) : 13-24.

นันทวารีย์ บูรณะสมพจน์. (พฤษภาคม - สิงหาคม 2560). “ประสิทธิผลการจัดเก็บรายได้สิทธิเบิกจ่ายตรง

ค่ารักษาพยาบาล ในงานการเงินและบัญชี โรงพยาบาลเพชรบูรณ์.” วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 14(2) : 38-45.

เบญจพร กลิ่นสีงาม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและประสิทธิภาพ

ในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษา

ด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ประภาพร พฤกษะศรี. (2557). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พีรญา ชื่นวงศ์. (กรกฎาคม – ธันวาคม 2560). “ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษาธุรกิจ

การขนส่งในจังหวัดเชียงราย.” วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธ์การจัดการ. 4(2) : 92-100.

ยศพล เวณุโกเศศ. (2556). การศึกษารูปแบบการจัดค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่นที่เหมาะสม สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงาน ในพื้นที่พิเศษ : กรณีศึกษาภาคใต้. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรนักบริหารการศึกษาระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันพัฒนา

ครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

ศศิธร ปั้นก้อง และ วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (กันยายน - ธันวาคม 2558). “ความพึงพอใจของพนักงานมหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครปฐมต่อโครงการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ.” วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก.

(3) : 157-183.

Bayu, A. N., Moehammad, S. H., & Heru, S. (March 2017). “Pengaruh Status Pekerja Dan Lingkungan Kerja Terhadap Kinerja Karyawan (Studi Pada Karyawan Auto 2000 Sukun Malang)”. Journal Administrasi Bisnis. 44(1) : 96-103.

Chansirisira, P. (12 October 2012). “Study of core competency elements and factors affecting performance efficiency of government teachers in northeastern Thailand.” International Education Studies. 5(6) : 161-166.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York : John Wiley & Sons.

Kossen, S. (1991). The Human Side of Organization. 5th ed. New York : Harper Collins Publishing.

Peterson, E. & Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management. Illinois : Richard D. Irwin.