การสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการส่งออก กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหาร บ้านวังรางใหญ่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สุชีรา ธนาวุฒิ
เอกราช หนูแก้ว
สุภาพร ลักษมีธนสาร
พวงพรภัสสร์ วิริยะ
สุธิรา เจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อกำหนดศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารบ้านวังรางใหญ่ และ 2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนแปรรูปอาหารบ้านวังรางใหญ่
เพื่อการส่งออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารบ้านวังรางใหญ่ จำนวน 16 คน ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การระดมสมอง และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีความแตกต่าง มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีรสชาติเฉพาะของวิสาหกิจชุมชน สามารถส่งเสริมเพื่อการส่งออกได้ และศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนตามตาราง BCG Matrix อยู่ในช่อง Dogs แสดงถึงส่วนแบ่งทางการตลาดและอัตราการเติบโตต่ำ ทำกำไรได้น้อยเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่น ในส่วนของด้านส่งเสริมการส่งออก สนับสนุนให้เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อแสดงถึงการเติบโตของกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ใหม่จะเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้า
ด้านกำลังการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่จะดึงศักยภาพของบุคลากรในวิสาหกิจชุมชนมาใช้ให้เต็มความสามารถ
การลดต้นทุนการผลิต สามารถสร้างผลกำไรแก่วิสาหกิจชุมชน การเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์เดิม
เป็นโอกาสทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชน การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยช่องทางการจำหน่ายเดิม มีโอกาส
ประสบความสำเร็จสูง สร้างการรับรู้ให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็ว สามารถวางจำหน่ายคู่กับผลิตภัณฑ์เดิมได้ ประหยัดเพราะใช้การขนส่งครั้งเดียวกัน ดังนั้นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดจึงเป็นทางเลือกแก่วิสาหกิจชุมชน

Article Details

How to Cite
ธนาวุฒิ ส., หนูแก้ว เ., ลักษมีธนสาร ส., วิริยะ พ., & เจริญ ส. (2024). การสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการส่งออก กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหาร บ้านวังรางใหญ่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 3(1), 60–76. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/2500
บท
บทความวิจัย

References

กรมการค้าต่างประเทศ. กระทรวงพาณิชย์. (2567). มาตรฐานสินค้าขาออก เงื่อนไขทางการค้าในอดีตกับการอภิวัฒน์ไปสู่จุดแข็งทางการค้าในปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพฯ : กระทรวงพาณิชย์.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. กระทรวงพาณิชย์. (2562). รอบรู้เศรษฐกิจ ตามติดตลาดโลก. กรุงเทพฯ : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 5838 หน้า 12.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2564). โครงการยกระดับเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ปี 2564. กรุงเทพฯ :

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

____________________. (2566). โครงการปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

เกรียงไกร นาคะเกศ. (2563). อาหารแปรรูป. กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พนิดา รัตนสุภา และคณะ. (2563). การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนและรองรับการส่งออก อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

พลชัย เพชรปลอด. (2561). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์กระเทียมปลอดภัยของผู้ประกอบการจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เพชรมณี ดาวเวียง. (2550). “มาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก.” วารสารนักบริหาร (Executive Journal) 27 (2) : 45-47.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือการทำวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2558). ประวัติและการดำเนินงานของสมอ. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

________________________________. (2562). การมาตรฐาน มอก. 2562-2556. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร.

อรวรรณ ชัยวงษ์วิบูลย์. (2560). แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าเครื่องเขียน TINTINTOYS. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัจจิมา ศุภจริยาวัตร. (มกราคม – มิถุนายน 2565). “แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการส่งออก กรณีศึกษากลุ่มผ้าไหมทอมือบ้านสุขสำราญ จังหวัดสระแก้ว”. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ.5(1) : 1-4.

Argandona, A. (2011). “Stakeholder Theory and Value Creation.” Journal of Business Ethics.

(922) : 1093-1102.

David, Fred R. (1993). Strategic Management. Edition 4. USA : Illustrated Publisher, Maxwell

Macmillan International.

Henderson, B. D. (1973). The Experience Curve-Reviewed. IV. The Growth Share Matrix or The Product Portfolio. Reprint 135.