ความร่วมมือซัพพลายเชนที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขัน ด้านการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความร่วมมือซัพพลายเชนและความสามารถทางการแข่งขัน
ด้านการท่องเที่ยว 2) ศึกษาความร่วมมือซัพพลายเชนที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 348 ชุด ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบและการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือ
ซัพพลายเชนและความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก และความร่วมมือซัพพลายเชนที่มีอิทธิพลต่อความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว ร้อยละ 70.5 ได้แก่ การสื่อสารร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความรู้ การแลกเปลี่ยนทรัพยากร และการตัดสินใจร่วมกัน แนวทางการพัฒนาให้ความสำคัญกับการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาคีเครือข่ายและสมาชิกในชุมชนเพื่อร่วมวางแผน ติดตาม ประเมินผล และออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น การเรียนรู้วิถีชีวิตและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาสินค้าและบริการที่เกิดจากภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวด้วยการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้และพึ่งพาตัวเอง พร้อมทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เกิดความยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กรมการปกครอง. (2565). สถิติจำนวนประชากร พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา อำเภอสูงเนิน ตำบลโคราช ข้อมูลเดือน ธันวาคม 2565. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/ statMONTH/statmonth/#/displayData. [1 พฤศจิกายน 2566].
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www2. nakhonratchasima.go.th/files/com_ebook_strategy/202212_e443e012614a039.pdf.
พฤศจิกายน 2566].
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://secretary.mots.go.th/
category/60. [1 พฤศจิกายน 2566].
จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563). “แนวทางในการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในจังหวัดอุบลราชธานี.” วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 7(2) : 455-472.
ฐานริณทร์ หาญเกียรติวงศ์ และ รุจิกาญจน์ สานนท์. (มกราคม – เมษายน 2564). “การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนแห่งหนึ่งใน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่.” วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 3(1) : 1-14.
ภัทร์ศินี แสนสำแดง และ อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์. (มกราคม 2565). “การจัดการการท่องเที่ยวเชิงความร่วมมือ
เพื่อความยั่งยืนของชุมชนปลาบ่า จังหวัดเลย.” วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(1) : 384-400.
สมหมาย ปานทอง และคณะ. (กรกฎาคม – ธันวาคม 2564). “แนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชน
เพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยว อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.” วารสารปรัชญาปริทรรศน์. 26(2) : 1-11.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.nesdc.go.th/download/ document/Yearend/2021/plan13.pdf. [1 พฤศจิกายน 2566].
ส.ศิริชัย นาคอุดม, พรรณนภา เขียวน้อย และศิวพร ถาวรวงศา. (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561). “ยุทธศาสตร์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษา: การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร.” วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 14(2) : 48-61.
Baah, C., Acquah, I. S. K., & Ofori, D. (January 2022).“Exploring the influence of supply chain collaboration on supply chain visibility, stakeholder trust, environmental and financial performances: a partial least square approach.” Benchmarking: An International Journal. 29(1) : 172-193.
Banomyong, R. (2018). Collaboration in supply chain management: A resilience perspective. International Transport Forum Discussion Paper. Paris : OECD Publishing
Cao, M., & Zhang, Q. (March 2011). “Supply chain collaboration: Impact on collaborative advantage and firm performance.” Journal of operations management. 29(3) : 163-180.
Crouch, G. I., & Ritchie, J. R. (2012). Competitiveness and tourism. Cheltenham : Edward Elgar Publishing.
Mai, V. N., Nguyen, Q. N., & Nguyen, D. H. L (2022). “The Relationship between Cooperation, Supply Chain Performance and Tour Operator Performance: A Cate Study of Tourism Supply Chain in Vietnam.” Geo Journal of Tourism and Geosites. 44(4) : 1246-1252.
Nadalipour, Z., Imani Khoshkhoo, M. H., & Eftekhari, A. R. (July 2019). “An integrated model of destination sustainable competitiveness.” Competitiveness Review. 29(4) : 314-335.
Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York : Free Press.
Ramayah, T., Lee, J. W. C., & In, J. B. C. (December 2011). “Network collaboration and performance in the tourism sector.” Service Business. 5(4) : 411-428.
Yamane, T. (1973).Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York : Harper and Row Publications.