ปัจจัยของการเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ของลูกค้า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนจอมพล จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

อุไรพร ชาติไทย
ลีลาวดี พัฒนรัชต์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัย หลังวิกฤตการณ์
โควิด-19 ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนจอมพล จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัย
ด้านประชากรศาสตร์ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) และการตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนจอมพล จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม โดยรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Least - Significant Different (LSD)  และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ที่มีเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน
มีการตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยไม่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
การตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนจอมพล จังหวัดนครราชสีมา ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

Article Details

How to Cite
ชาติไทย อ., & พัฒนรัชต์ ล. (2024). ปัจจัยของการเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ของลูกค้า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาถนนจอมพล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 3(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/2695
บท
บทความวิจัย

References

เกษรา กองแก้ว. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อ

เงินด่วน A-Cash ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเลิงนกทา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา/:/http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-5-15_1636272545.pdf.////

กรกฎาคม 2566].

แก้วตา หุนนาลา และชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2562). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพิจารณาเลือกใช้สินเชื่อ

เพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล.” วารสาร

สหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8(2) : 390-399.

ฉัตรบดินทร์ ชุ่มชิต และศิวพงศ์ ธีรอำพน. (2565). “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล

ผ่านแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง.” Journal of Buddhist Education and Research: JBER.

(2) : 130-141.

ชาญวิทย์ บูรณะสันติกุล และศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารพาณิชย์ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษา บริษัท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน).” Journal of Modern Learn-ing Development. 7(8) : 196-209.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2566). ข้อมูลสถิติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://dashboard.ghb.co.th/ GHB_AllDashboard/Tran/Detail. [1 กันยายน 2566].

ละออง มังตะการ และพีชญาดา พื้นผา. (2561). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินด้านสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ไทยของผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดอุบลราชธานี.” วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 1(13) : 54-75.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

อาทิตยา เขียวกลม. (2564). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อบุคคลของผู้บริโภค กรณีศึกษาธนาคารออมสิน ภาค 11 เขตขอนแก่น. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/

Project/konkean01_26052022/6227951840.pdf. [25 กรกฎาคม 2566].

Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rd ed. New Jersey : Prentice hall Inc.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing Management. 14th ed. Pearson Education.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control.

th ed. New Jersey : Prentice Hall, Upper Saddle River.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1994). Consumer Behavior. 5th ed. New Jersey : Prentice Hall.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper, & Row.