ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อเสื้อพื้นเมืองออนไลน์ในเพจ P2P Cotton
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อ
เสื้อพื้นเมืองออนไลน์ในเพจ P2P Cotton 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดกับ
ความจงรักภักดีของผู้ซื้อเสื้อพื้นเมืองออนไลน์ในเพจ P2P Cotton และ 3) ความสัมพันธ์ด้านคุณภาพของ Facebook กับความจงรักภักดีของผู้ซื้อเสื้อพื้นเมืองออนไลน์ในเพจ P2P Cotton โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อสินค้าร้าน P2P Cotton ผ้าฝ้ายพื้นเมือง จำนวน 220 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านอาชีพที่ต่างกันส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อ
เสื้อพื้นเมืองออนไลน์ในเพจ P2P Cotton แต่ปัจจัยด้านอายุ เพศ รายได้ สถานภาพ และการศึกษาที่ต่างกัน
ไม่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อเสื้อพื้นเมืองออนไลน์ในเพจ P2P Cotton 2) ปัจจัยประสมทางการตลาด (6Ps)
ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการให้บริการส่วนบุคคล
และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อเสื้อพื้นเมืองออนไลน์ในเพจ P2P Cotton และ 3) ปัจจัยด้านคุณภาพ Facebook คุณภาพข้อมูล คุณภาพระบบ คุณภาพการบริการ และความง่าย
ในการใช้งานส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อเสื้อพื้นเมืองออนไลน์ในเพจ P2P Cotton อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กนกพรรษ ปัตถนานนท์ และคณะ. (2562). ประชากรศาสตร์คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ และรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อโทรทัศน์ที่เทสโก้ โลตัสของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จีรพัฒน์ พิชัยกมลศิลป์. (2563). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ รองเท้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
จิราวรรณ ลาดนาเลา และพอดี สุขพันธ์. (พฤษภาคม – สิงหาคม 2566). “ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ
ที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการร้านค้าสวัสดิการกรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 9(2) : 266-280.
ฉัตรชัย อินทสังข์. (2562). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา : เอ็กปริ้นติ้ง.
ณมน อังคะหิรัญ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าผ่านความพึงพอใจของลูกค้าของร้านขาย ส่งสินค้าเบ็ดเตล็ด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิธิกานต์ วรรณเสริมสกุล และคณะ. (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565). “ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการโรงแรม เพื่อส่งผลดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน.” วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 4(2) : 13-26.
บุญญาพร ศรีประเสริฐ, พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์ และฉัตยาพร เสมอใจ. (มกราคม – มิถุนายน 2566). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการแพร่ภาพสดบนแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภค
วัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร.” วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 9(1) : 62-77.
เมทินี จันทร์กระแจะ. (2560). คุณภาพของระบบสารสนเทศและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อเรื่อง“รู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันสารสนเทศหัวใจของ
การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.nstda.or.th/nac/2016/ index78d3.html?page_id=661. [28 มกราคม 2567].
รัชชานนท์ ชัยเจริญ และประพล เปรมทองสุข. (มีนาคม – เมษายน 2566). “อิทธิพลของความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพของสินค้าที่มีต่อความไว้วางใจและความจงรักภักดีของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์.” วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 5(2) : 291-304.
วาสนา คำไทย และสุนันทา สุภพล. (กรกฎาคม – ธันวาคม 2564). “ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อ
ความพึงพอใจและความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดชัยภูมิ.” วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(2) : 17-30.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่: (Marketing Management) ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : Diamond In Business World.
สมชาย เล็กเจริญ และศรัณยู สุวรรณสุนทร. (กรกฎาคม - กันยายน 2565). “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อ
ความภักดีในการซื้อเครื่องดนตรีสากลบนเพจเฟซบุ๊กในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.” วารสารศิลปะการจัดการ. 6(3) : 1266-1282.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยปี 2562. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx. [28 มกราคม 2567].
สุภาณี เส็งศรี. (2561). วิธีวิทยาการสอน:คอมพิวเตอร์สาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสาระเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). พิษณุโลก : นวมิตรการพิมพ์.
หงสา ปลาทอง. (2563). ส่วนประสมการตลาดออนไลน์และคุณลักษณะของนวัตกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการ ตัดสินใจใช้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ของผู้หญิงวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2003). “The DeLone and McLean model of information systems success: A ten-year update.” Journal of Management Information Systems. 19(4) :
-30.
Durmaz, Y. & Efendioglu, I. H. (2016). “Travel from traditional marketing to digital marketing.” Global Journal of Management and Business Research: E-Marketing. 16(2) : 34-40.
Michałowska, M. & Danielak, W. (2015). “The impact of globalization on consumer behavior in Lubuskie Province in the light of the research.” Pobrane z czasopisma Annales
H – Oeconomia. 49(3) : 135-146.
Tam, C., & Oliveira, T. (2016). “Understanding the Impact of m-Banking on Individual Performance: DeLone & McLean and TTF Perspective.” Computers in Human Behavior. 61 : 233-244.
Walsh, M., Lynch, P. & Harrington, D. (2010). “Creating superior competitive advantages for the small tourism firm through capitalizing on the firm-level dynamic capability of innovativeness.” In: The Tourism and Hospitality Research in Ireland Conference (THRIC), 15th - 17th June 2010, Shannon College of Hotel Management.
Ying, Y. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) ของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.