ผลกระทบของความรู้เกี่ยวกับภาษีอากรที่มีผลต่อรูปแบบการวางแผนภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบระหว่างความรู้เกี่ยวกับภาษีอากรที่ส่งผลต่อรูปแบบ
การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในจังหวัดมหาสารคาม ใช้แบบสอบถาม
เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 199 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร ด้านการรู้วิธีการคำนวณภาษี ด้านการรู้ช่องทางการยื่นภาษี และด้านรู้ถึงสิทธิของค่าลดหย่อน มีผลกระทบเชิงบวกกับรูปแบบการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยรวม 2) ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร ด้านการรู้ประเภทของรายได้ ด้านการรู้วิธีการคำนวณภาษี ด้านการรู้ช่องทางการยื่นภาษี และด้านรู้ถึงสิทธิของค่าลดหย่อน มีผลกระทบเชิงบวกกับรูปแบบการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านการลดเงินได้พึงประเมินที่ใช้ในการคำนวณภาษี 3) ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร
ด้านการรู้ประเภทของรายได้ ด้านการรู้ช่องทางการยื่นภาษี ด้านความรับผิดทางด้านภาษีอากร และด้านรู้ถึง
สิทธิของค่าลดหย่อน มีผลกระทบเชิงบวกกับรูปแบบการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านภาษีอากร (4) ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร ด้านการรู้วิธีการคำนวณภาษี และด้านรู้ถึงสิทธิของค่าลดหย่อนมีผลกระทบเชิงบวกกับรูปแบบการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านการเพิ่มค่าลดหย่อน และ 5) ความรู้เกี่ยวกับภาษีอากร ด้านการรู้ค่าใช้จ่ายที่หักภาษีได้ และด้านรู้ถึงสิทธิของค่าลดหย่อน มีผลกระทบเชิงบวกกับรูปแบบการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านการเพิ่มค่าลดหย่อน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กรมประชาสัมพันธ์. (2565). ครม. ผ่านแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) เสริมแกร่ง SMEs ไทยเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจแข่งขันในระดับสากล ชูเกษตรสู่การทำธุรกิจแบบมืออาชีพ. สืบค้นจาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/122226
กรมสรรพากร. (2566). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีไม่ชำระภาษีตามกำหนดเวลา. สืบค้นจาก https://www.rd.go.th/562.html.
จักรชัย พิณเสนาะ และชนิดา ยาระณะ. (2563). ความรู้ความเข้าใจ และการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 7(2), 87-95.
โชคชัย เดชรอด. (2564). การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(4), 53-66.
ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. (2564). พฤติกรรมทางภาษี ปัญหาการเสียภาษี และการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 8(1), 113-130.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2566). วางแผนเรื่องเงิน ภาษี. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/tax.
ธนพร พักสันเทียะ และสุพจน์ สกุลแก้ว. (2563). การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตตลาดเทศบาลตำบลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2563 หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด-19, วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้, (น.46-52).
ธนวัฒน์ ฉิมรักษ์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการวาแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและปัญหาในการเสียภาษีของผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในจังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ส่งเสริมงานวิจัยด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย.
ธนิดา จิตร์น้อยรัตน์. (2559). การวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้องทำอย่างไร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(95), 13-27.
บุณยานุช รวยเงิน มัลลิกา ชนะภัย และกัลยา บุญหล้า. (2565) ความรู้และทัศนคติต่อการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 31(2), 70-83
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชํานิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
วราพร เปรมพาณิชย์นุกุล. (2561). ผลกระทบของความรอบรู้ในการวางแผนภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพการวางแผนภาษีของผู้บริหารฝ่ายบัญชีธุรกิจ SMES ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 106-123.
วิภาดา สุขสวัสดิ์. (2563). การศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ของผู้เสียภาษีอากรที่มีผลต่อทัศนคติการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 (เขตคลองเตย). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 4(2), 1-7.
ศิริรัตน์ พ่วงแสนสุข, รณพร พิทักษ์มวลชน และไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2561). ความรู้ ความเข้าใจ ในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2556). โครงการมหาสารคามสานพลัง เปิดเฮือน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ. สืบค้นจาก https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER79/DRAWER049/GENERAL/DATA0002/00002579.PDF
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). จำนวนผู้ประกอบการรวม ปี 2566. สืบค้นจาก https://www.sme.go.th/.
สุเทพ พงษ์พิทักษ์. (2564). การวางแผนภาษีอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/100057701820312/posts/4529000753817532/
หทัยรัตน์ เหล็กพิมาย, ยุทธนาท บุณยะชัย, พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา. (2565). ทัศนคติของผู้เสียภาษีที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(1), 402-415.
อัครวิชช์ รอบคอบ และเกสินี หมื่นไธสง. (2566). วางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยการบริจาคอย่างถูกต้องและประหยัดภาษี. Journal of Accountancy and Management, 15(4), 178 - 201.
Aker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research (7th ed). New York: John Wiley and Sons.
Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making (4th ed). USA: John Wiley and Sons.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6 th). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.