พฤติกรรมการออมและการส่งเสริมการออมของพนักงานฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมของพนักงานฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายวิชาการ และ 2) ศึกษา
การส่งเสริมการออมของพนักงาน ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการออมของฝ่ายสนับสนุนโดยส่วนใหญ่ มีการออมทั้งสถาบันการเงิน และรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งการออมในสถาบันการเงินส่วนใหญ่ คือ เงินฝากธนาคาร สำหรับการออม
ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ส่วนใหญ่ คือ ออมทองคำ และซื้อประกันชีวิต โดยเงินออมที่คาดว่าจะออมอยู่ระหว่าง
1,001-5,000 บาทต่อเดือน และเป้าหมายในการออม เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในอนาคต และใช้จ่ายในยามชรา/ เจ็บป่วย สำหรับฝ่ายวิชาการ ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายด้านที่พักหรือที่อยู่อาศัย เฉลี่ย 14,084.80 บาทต่อเดือน รูปแบบการออม
เป็นการออมทั้งในสถาบันการเงิน และรูปแบบอื่น ๆ โดยออมในสถาบันการเงินส่วนใหญ่ คือ เงินฝากธนาคาร สำหรับการออมในรูปแบบอื่น ๆ ส่วนใหญ่เป็นทองคำ และซื้อประกัน และ 2) การส่งเสริมการออมของมหาวิทยาลัย
พบว่า มีการส่งเสริมการออมของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เช่น สหกรณ์กรุงเทพมหานคร กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการส่งเสริมการออมดังกล่าว ดังนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัย สามารถนำผลการวิจัยดังกล่าว
ไปพิจารณาดำเนินการจัดทำแนวทางหรือนโยบายในการส่งเสริมการออมให้มีประสิทธิภาพต่อไปได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.dop.go.th/th/know/15/926. [17 เมษายน 2565].
กระทรวงการคลัง. (2560). แนวทางการส่งเสริมการออมทั้งระบบ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www. prachachat.net/finance/news-71786. [17 เมษายน 2565].
กฤตภาส เลิศสงคราม. (2555). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตรการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คณิน เล้าตระกูล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมเงินของสมาชิกสหรกรณ์ กรณีศึกษา: สหกรณ์ออมทรัพย์ สาธารณสุขเชียงใหม่ จำกัด. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ปีชัย จีระศักดิ์ประเสริฐ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน : กรณีศึกษาข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินสังกัดส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พิกุล ปัญญา. (2554). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของเจ้าหน้าที่การตลาดบริษัท หลักทรัพย์. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
ลำไพร พ้นทุกข์. (2556). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของเจ้าหน้าที่เทศบาลในเขตอำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล. (2557). “ปัจจัยในการทำนายพฤติกรรมการออมของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร.”
วารสารสุทธิปริทัศน์. 28(85) : 300-315.
วีรวิชญ์ ตันวรรณรักษ์. (2556). การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพฤติกรรมการออมของ พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎอยุธยา.
สกุณา หวังเอียด. (2558). พฤติกรรมการออมเพื่อเตรียมตัวในการใช้ชีวิตหลังเกษียณของประชาชนในเขต
เทศบาลนครเชียงใหม่. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิรินดา กลิ่นจันทร์หอม. (2555). “พฤติกรรมการออมเงินของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.” เอกสารแบบฝึกหัดการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบันรายวิชา 751409. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรรณพ ศิริสุขสันต์. (2556). พฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของพนักงานห้าง : กรณีศึกษาพนักงาน ห้าง บริษัทเซ็นทรัล สาขาพัทยา บีช. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
Likert, R. N. (1970). A technique for the measurement of attitude. Attitude Measurement. Chicago : Ronal McNally & Company.