สมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหลักของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลของสมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยประชากรคือพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 17 แห่ง จำนวน 314 คน และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และ
สุ่มตามความสะดวก จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความคิดเห็นประสิทธิผล
การปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) อิทธิพลของสมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 3 ด้าน คือ ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน การทำงานเป็นทีม และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราขสีมา
บทความที่ปรากฎในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวารสาร
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2558). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เฉิดฉวี กิตติกุลพันธ์. (เมษายน 2558). “สมรรถนะตามสายงานหรือสมรรถนะในสายอาชีพ คืออะไร ?.” วารสารวิชาการ ปขมท. 4(1) : 16-27.
ชนานาถ ผดุงศิลป์. (2560). สมรรถนะหลักที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นิพนธ์ ศศิธรเสาวภา. (2560). การบริหารกิจการท้องถิ่นที่ดีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (ตุลาคม 2560). “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(1) : 144-158.
พยัต วุฒิรงค์. (2555). สุดยอดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่. กรุงเทพฯ : วี. พริ้น (1991).
พรพรรณ แป่มสูงเนิน. (2561). สมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
มยุรี วรรณสกุลเจริญ และชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). “ประสิทธิผลขององค์การ.” วารสารศิลปการจัดการ. 4(1) : 193-204.
รมิดา ชาธิรัตน์. (2559). สมรรถนะหลักการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัด กาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.
วรัทยา ไชยทองกูร. (2559). การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลการทำงานร่วมกันเป็นทีม การติดต่อสื่อสารระหว่างแผนก และระบบการทำงานในองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงาน อุตสาหกรรมพลาสติก จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศศิธร จิมากรณ์. (2556). สมรรถนะหลักกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของเลขานุการสำนักงานศาลยุติธรรม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.
-พ.ศ. 2561). กรุงเทพฯ : บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. (2563). ผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (LPA) ปี 2563. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.buriramlocal.go.th/public/list/data/ detail/id/14635/menu/1554/page/4. [9 กรกฎาคม 2564]
อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2563). การวิเคราะห์สมรรถนะในการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ : อ.อนุศักดิ์
อมรา พิมพ์สวัสดิ์ และบรรจบ บุญจันทร์. (2563). “การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31.” วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. 7(1) : 42-54.
อัญชลี ชัยศรี. (2563). “การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานสมรรถนะ.” วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 5(2) :
-248.
Arthey, T.R., and Orth, M.S. (1999). “Emerging Competency methods for the future.” Human Resource Managemnt. 38(3) : 215-226.
Boyatzis, R. (1982). The competent manager : A model for effective performance. New York : John Wiley.
Kim, S.H., and Jeong, N. O. (2019). “Influence of Career Plateau on the Job Satisfaction and Nursing Competency of General Hospital Nurses.” Korean Journal of Occupational Health Nursing. 28(3) : 138-147.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Education and Psychological Measurement. 30(3) : 608-609.
Peterson, E. and Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management. Homewood.
ILL: Richard D. Irwin.
Spencer, L. M. and Spencer, S. M. (1993). Competency at work : Models for Superior Performance. New York : John Wiley and Sons.