อิทธิพลคุณค่าของพุทธศิลป์กับการพัฒนาจิตและปัญญาในสังคมไทย
คำสำคัญ:
อิทธิพล, พุทธศิลป์, การพัฒนาจิตบทคัดย่อ
อิทธิพลคุณค่าพุทธศิลป์กับการพัฒนาจิต ในสังคมไทยเข้ามามีอิทธิพลต่อพุทธศาสนิกชนเริ่มตั้งแต่แรกเกิด มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต โดยอาศัยวัด ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพุทธศิลป์ที่สำคัญ โดยอาศัยเงินบริจาคที่มาจากประชาชนทั่วไปที่มากราบไหว้สักการะ ไปช่วยส่งเสริมสนับสนุนสังคมในด้านต่าง ๆ และยังมี อิทธิพลและคุณค่าทาง ด้านวัฒนธรรม ก่อให้เกิดประเพณีวัฒนธรรม เกิดการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม ทำให้การท่องเที่ยวในที่นั้นมีการเติบโต ชาวบ้านบริเวณโดยรอบได้ประกอบสัมมาชีพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมตอาชีพให้กับชาวบ้านในชุมชนได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญเสริมสร้างทางด้านจิตใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีที่พึ่งพิงทางใจให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย อุ่นใจ สบายใจ ได้ระลึกนึกถึงพุทธคุณ นึกถึงหลักธรรมคำสอนแล้วน้อมนำเอามาใช้ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อยู่บนพื้นฐานของปัญญาหรือความมีเหตุผล โดยมุ่งหมายให้เกิดความสงบทางใจ และเกิดสติปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิต ได้พัฒนาจิตใจ และปัญญา สามารถอบรมเจริญวิปัสสนาซึ่งเป็นหนทางการดับกิเลส หรือความหลุดพ้นโดยการประพฤติปฏิบัติธรรมในสิ่งที่ดีงามที่ ละเว้นจากการทำชั่วทั้งปวง เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนเพื่อให้พ้นทุกข์อันเป็นแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนาต่อไป
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
กรมศิลปากร. (2541). เชียงใหม่ปัณณาสชาดก. กรุงเทพมหานคร : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). กาลานุกรมในอารยธรรมโลก. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์) .
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2549) . พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก), .
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระภิกษุฟาเหียน.(2487).จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักร. แปลโดยพระยาสุรินทรลือชัย (จันท์ ตุงคสวัสดิ) จากต้นฉบับของ เจ็มส์ เล็กจ์. พระนคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุณยากร). (2557). พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2542). พระพุทธศาสนาคืออะไร. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
ราชบัณฑิต. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : บารมีพับลิเคชั่นส์.
สุวรรณ สุวรรณวโช. (2546). พื้นฐานความเชื่อของสังคมไทย.กรุงเทพมหานคร : บรรณกิจ.
นวม สงวนทรัพย์. (2537). สังคมวิทยาศาสนา. กรุงเทพมหานคร:โอ.เอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สุภาวดี เจริญเศรษฐมห. “ความเชื่อ : มิติแห่งเหตุผล และความงมงาย”, วารสารรามคำแหง. ปีที่ 22, ฉบับที่ 3 (ก.ค. - ก.ย. 2548), 74-101.
Beal. Delhi : Oriental Books Reprint Corporation. First edition 1884), 1969, p. 235.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มจร สุพรรณบุรีปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.