การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในห้องสมุดของครูบรรณารักษ์ระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ฐานิตา แก้วศรี
นฐา ศรีนวล
ธัญชนก จาดดำ
สมฤทธิ์ วันชัย
พิชญาภา ยวงสร้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดบริการและกิจกรรมห้องสมุดของครูบรรณารักษ์ระดับประถมศึกษา โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูบรรณารักษ์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 จำนวน 180 แห่ง แห่งละ 1 คน รวมเป็น 180 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดบริการและกิจกรรมห้องสมุดของครูบรรณารักษ์ระดับประถมศึกษาโดยรวมมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้รับบริการมากที่สุด รองลงมา คือ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการ และ ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำระบบยืม-คืนน้อยที่สุด ในโรงเรียนใหญ่และโรงเรียนขนาดกลางมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้รับบริการมากที่สุด รองลงมา คือ มีอุปกรณ์โสตทัศน์สำหรับผู้รับบริการ และ ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำระบบยืม-คืนน้อยที่สุดและโรงเรียนขนาดเล็ก มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้รับบริการมากที่สุด รองลงมา คือ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการและผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบริการของห้องสมุดได้อย่างสะดวกและรวดเร็วด้วยการใช้เทคโนโลยีน้อยที่สุด

Article Details

How to Cite
แก้วศรี ฐ., ศรีนวล น., จาดดำ ธ., วันชัย ส. . ., & ยวงสร้อย พ. . . (2023). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในห้องสมุดของครูบรรณารักษ์ระดับประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 7(13), 73–83. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/1282
บท
Research article

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. (2549). มาตรฐานห้องสมุด 2549. เข้าถึงจาก https://www.tla.or.th/index.php/th/1/standard

Vinitha, K., Kanthimathi, S. & Tharani Devi, K. (2006). Impact of Information and Communication Technology on Library and its Services, In Proceeding of DRTC – ICT Conference on Digital Learning Environment 11th –13th January 2006 DRTC, Bangalore.1-7.

Patel, H. J. (2012). Impact of information and communication technology on library and its services of SU Patel university library. International Journal of Library and Information Studies, 2(3), 33-41.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). การจัดบริการและกิจกรรมห้องสมุด. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์ และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2561). การส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนยุคดิจิทัล (READING PROMOTION IN DIGITAL AGE SCHOOLS). JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 21(3), 356–368. Retrieved from https://so06.tci- thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/123014.

Stoilova, M., Livingstone, S., and Khazbak, R. (2021) Investigating Risks and Opportunities for Children in a Digital World: A rapid review of the evidence on children’s internet use and outcomes. Innocenti Discussion Paper 2020-03. UNICEF Office of Research – Innocenti, Florence.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2014). Reading in the mobile era: a study of mobile reading in developing countries. Retrieving from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000227436.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2561 The Reading of lation Survey 2018. กรุงเทพฯ : สำนักสถิติพยากรณ์.