การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

natthaphon hongthong
เสกสรรค์ วัฒนบูรณ์
ปนัดดา สังข์ศรีแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์และสาเหตุการเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 2 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 2 โรงเรียนสมเด็จประชานุเคราะห์อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ แบบสัมภาษณ์นักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ โดยจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ซึ่งพบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการคูณ การหารพหุนามมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65 รองลงมาคือ มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการบวก การลบพหุนามคิดเป็นร้อยละ 55 มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับนิยาม กฎ ทฤษฎี คิดเป็นร้อยละ 40 และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการทำความเข้าใจโจทย์ คิดเป็นร้อยละ 30 ตามลำดับ และ 2) สาเหตุของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนส่วนมากมาจากการที่นักเรียนไม่เข้าใจวิธีการดำเนินการทางพีชคณิตของพหุนามและนักเรียนไม่สามารถแปลความหมายของโจทย์ที่กำหนดให้ได้

Article Details

บท
Research article

References

ขวัญชนก กิจเธาว์ และไอริน ชุ่มเมืองเย็น. (2565). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. Education journal Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University, 5(3), 144-154.

ประวาลปัทม์ รถวรินทร์, วรนุช แหยมแสง และนพพร แหยมแสง. (2559). การวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม). จาก http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/ru สืบค้น 26 พฤษจิกายน 2565.

ปิยณัฐ ชัยเพ็ง, (2559). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเศษส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม), หน้า 1-134.

มณีรัตน์ ขยันกลาง (2559), การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางพีชคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2559), หน้า 1-136.

สุดารัตน์ ปัทมาสราวุธ, ธารีรัตน์ ธนัตถ์พาณิชย์ และวราภรณ์ จาตนิล. (2022). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่. ในรายงานการประชุม National & International Conference (Vol. 2, No. 15, p. 22).

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไอริน ชุ่มเมืองเย็น, พรรณี เหมะสถล และวีรวัฒน์ ไทยขำ. (2561). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางพีชคณิตของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์. ใน รายงานการประชุม Graduate School Conference (Vol. 2, No. 1, pp. 1035-1042).