แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในความปรกติใหม่ของโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร

Main Article Content

ฎาริชา สาริทธญาณ์
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา การเปรียบเทียบสภาพ และศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในความปรกติใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 317 คน ได้มาโดยการเปิดตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเคร็จซี่และมอร์แกน และการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การแจกแจงความถี่ ร้อยละ จัดลำดับ และการหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการในความปรกติใหม่ โดยภาพรวมมีสภาพการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก และปัญหาที่พบมากที่สุด คือ นักเรียนไม่มีความพร้อมในสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการเรียนรู้ 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการในความปรกติใหม่ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการในความปรกติใหม่ พบว่า โรงเรียนควรมีการจัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ปรับกิจกรรมการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ควรปรับหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น โดยให้เป็นรูปแบบของการเรียนในสังคมยุคดิจิทัล

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารสู่ชีวิตใหม่ ด้านงานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ, 12(8), 407-416.

นัฐวุฒิ ชัยนอก. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ประเสริฐ บุญเรือง. (2563). แนวทางการบริหารการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [Online]. Available: http://www.spm7.go.th. [2565, มีนาคม 23].

พระพรหมพิริยะ ถาวโร (มาลัยรักษ์). (2564). ครูมืออาชีพกับการศึกษาไทยยุคสังคม New normal. ลำพูน: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมพร พ่ออามาตย์. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล มธุรส. (2564, พฤษภาคม-มิถุนายน). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-34.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 609-610.