แนวทางการพัฒนาความพร้อมในการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

Main Article Content

ภัทวรรณ์ ไชยภักดิ์
วชิระ วิชชุวรนันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคลังข้อสอบวัดสมรรถนะนักศึกษาครูตามกรอบการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูของคุรุสภา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความพร้อมเพื่อการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 5 จำนวน 454 คน และหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู จำนวน 173 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ข้อสอบวัดสมรรถนะนักศึกษาครูตามกรอบการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูของคุรุสภา จำนวน 4 รายวิชา 2) แบบสอบถามแนวทางการพัฒนาความพร้อมเพื่อการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และ 3) แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาความพร้อมเพื่อการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาข้อสอบเพื่อการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จำนวน 4 รายวิชา ได้แก่ วิชาชีพครู การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา แต่ละวิชามีคุณภาพข้อสอบด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และแนวทางในการพัฒนาความพร้อมเพื่อการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู พบว่า 1) ประเมินสมรรถนะและความพร้อมในเชิงวิชาการของตนเองก่อนและหลังการเตรียมความพร้อมฯ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องเนื้อหา และการคิดในแง่ของทัศนคติในการทำงานที่ดี ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมา และพยายามหาข้อสอบมาวิเคราะห์ สรุปความรู้ในเนื้อหาของแต่ละวิชาด้วยตนเอง ทบทวนความรู้อย่างต่อเนื่อง ฝึกทำข้อสอบอย่างหลากหลาย และศึกษาเนื้อหาให้ละเอียดและกว้างมาก เนื่องจากข้อสอบเน้นการคิดวิเคราะห์ และเนื้อหาค่อนข้างยาก 3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ส่วนใหญ่ คือ การได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผลตามรายวิชาในหลักสูตร มีความสัมพันธ์กับการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 5) กิจกรรมการพัฒนาความพร้อมที่คณะฯ ดำเนินการ ควรจัดกิจกรรมล่วงหน้าในระยะเวลาที่นานกว่านี้ เพราะกิจกรรมที่จัดนั้น ยังไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้เพื่อการสอบ

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. สืบค้น 18 มีนาคม 2565, จาก https://www.ksp.or.th/

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. สืบค้น 18 มีนาคม 2565, จาก https://www.ksp.or.th/

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2565, จาก https://www.ksp.or.th/

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ดำรงค์ สุพล. (2554). ระบบคลังข้อสอบออนไลน์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ดิเรก พรสีมา. (2562). ผลิตครูเพื่อให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพชั้นสูง หรือเพียงแค่ให้ออกไปประกอบอาชีพ. สืบค้น 18 มีนาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1394132

ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล และคณะ. (2560). ผลของการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อความพร้อมและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(2), 43-53.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพา ทักษิณ และคณะ. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเตรียมความพร้อม และผลการสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารการพยาบาล, 26(3), 117-129.

เยาวดี รางชัยกุลวิบูลย์ศรี. (2552). การวัดผลและการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล พิบูลย์. (2557). การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลคลังข้อสอบรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

Anderson & Krathwohl. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing:A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman.

Bloom & Krathwohl. (1956). Taxonomy of educational objectives; the classification of educational goals by a committee of college and university examiners.Handbook I: Cognitive Domain. New York, NY; Longmans, Green.