แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร

Main Article Content

ศิริพร สกุลไทย
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ตามประสบการณ์ และขนาดของโรงเรียน 3. เพื่อหาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Independent วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชากานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ในภาพรวมทั้ง 5 ด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาสื่อการเรียนการสอน รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาการวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ 2. จากการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำแนกตามประสบการณ์การทำงานพบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร แต่ละด้านควรดำเนินการดังนี้ โรงเรียนควรความสำคัญในการร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายของหลักสูตร ให้ครูได้มีส่วนร่วมในการประชุม วางแผนพัฒนาหลักสูตรจัดอบรมให้ครูมีความรู้ในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล มีการวางแผนเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาภายในและมาตรฐานการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสถานศึกษา นอกจากนี้ครูยังต้องสำรวจความต้องการของผู้เรียนให้ทั่วถึง เพื่อจัดหาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยสำ เหมาะสมมีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อการจัดเรียนการสอน

Article Details

How to Cite
สกุลไทย ศ., & รักพรมงคล ภ. (2023). แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 7(14), 27–46. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/2319
บท
Research article

References

กษิรา วาระรัมย์. (2556). ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานครที่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ธรรมนูญ ศิริวัฒนาโรจน์. (2548). การจัดทำแผนพัฒนาเครือข่ายระดับตำบลของกองทุนหมู่บ้านในตำบลเพชรชมพู กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ.ศูยน์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่1). เกรียงไกรปริ้นติ้ง.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2558). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. [Online]. Available : https://so04.tcithaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/42484.[2565, สิงหาคม 17].

ราชกิจจานุเบกษา.(2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชาณาจักรไทย. [Online]. Available : https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/8118/10/References.pdf. [2565, มกราคม 10].

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2555). การกระจายอำนาจการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในฝันเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง. คณะศึกษาศาสตร์ม หาวิทยาลัยทักษิณ.

ละมูล เหล่าทอง และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. [Online]. Available : https://tci-thailand.org/wp-content/themes/magazine-style/tci_search/article.html?b3BlbkFydGljbGUmaWQ9NjE2ODY4. [2565, สิงหาคม 17].

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. (2565). รายงานผลการจัดการศึกษาบริบทพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. [Online]. Available :https://drive.google.com/drive/folders/1SwX2FCCdF0GW3PWLmvZjuxVGoJ_yzKSM. [2565, กรกฎาคม 17].

สุดารันต์ จันทร์ศรี. (2560). การศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา บัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สุนิรันดร์ รุ่งเรืองรณชัย และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชร. [Online]. Available :http://www.style/tci_search/article.html?b3BlbkFydGljbGUmaWQ9NjA0MDM1. [2565, สิงหาคม 17].

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไข้เพิ่มเติม(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุพรรณี จันทร์งาม. (2566). แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

หาญณรงค์ กระจงจิตร. (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในการริหารงานวิชาการโรงเรียนเครือข่ายการศึกษากรมหลวงชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size of research activities.Education and Psychological Measurement.