แนวทางพัฒนาการบริหารโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1

Main Article Content

อินทุอร มากเอี่ยม
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโครงการอาหารกลางวัน (2) เปรียบเทียบขนาดของสถานศึกษาในการบริหารโครงการอาหารกลางวัน และ(3) หาแนวทางพัฒนาการบริหารโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (On-way ANOVA) และ F-test ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการบริหารโครงการอาหารกลางวันอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับสูงที่สุด คือ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ปัญหาในการบริหารโครงการอาหารกลางวัน ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านการบริหารงบประมาณ สถานศึกษาไม่สามารถจัดทำโครงการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมผลผลิตในโครงการอาหารกลางวันได้ (2) การเปรียบเทียบการบริหารโครงการอาหารกลางวันจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ (3) แนวทางพัฒนาการบริหารโครงการอาหารกลางวัน พบว่า สถานศึกษาควรจัดทำฐานข้อมูลโภชนาการด้วยโปรแกรม THAI SCHOOL LUNCH ให้ความรู้ด้านอาหาร จัดแหล่งเรียนรู้ ด้านอาหารโดยผนวกเข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ฐานเห็ดนางฟ้า ฐานสวนเกษตรอินทรีย์ ฐานนำหมักปุ๋ยน้ำหมักจากเศษผัก นำผลผลิตทางการเกษตรจำหน่ายสู่โรงอาหารของโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบจัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค ให้ผู้บริหารรับทราบเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน และทำการปรับปรุงพัฒนาโครงการใหม่ต่อไป

Article Details

บท
Research article

References

กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. (2559). คู่มือการดำเนินงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.

จินดาหรา พวงมาลา. (2560). แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านบางแก้ว. An Online Journal of Education, 12(4), 824-837.

ชนก แสนติยศ. (2558). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University, 8(18), 1-10.

ณัฐธิกานต์ โสกงโสด. (2559). ปัญหาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3. วันที่ 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.

ณัฐวรรณ ตรวจนอก. (2558). การศึกษาการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 2(1), 17-24.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร.

ภควดี น่วมพิทักษ์ และรัฐชาติ ทัศนัย. (2565). การพัฒนาการจัดการอาหารกลางวันของโรงเรียนให้เกิด ประสิทธิภาพกรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลลาดสวายจังหวัดปทุมธานี. Journal of Humanities and Social Sciences Valaya Alongkorn, 17(1), 29-38.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2558). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 4(1), 143-160.

สุพัตรา สิมมาลา. (2562). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันนักเรียนตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตดุสิต. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/230

สุนันทา คเชศะนันทน์ และอัครพันธ์ รัตสุข. (2561). แนวทางในการปรับปรุงรูปแบบการจัดอาหารในโรงเรียน มัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดนนทบุรี. Panyapiwat Journal, 11(2),177-192.

เสริมสวย ยาหอม. (2562). การรายงานผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านโขมงหัก. กำแพงเพชร: โรงเรียนบ้านโขมงหัก.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต1. (2563). นโยบายและจุดเน้น. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564, จาก http://www.kpt1.thailocallink.com/ content/cate/3.

อรุณ สู่หญ้านาง. (2563). รายงานผลการดำเนินโครงการอาหารกลางวันปีงบประมาณ 2563 โรงเรียนบ้านป่าถั่ว. กำแพงเพชร: โรงเรียนบ้านป่าถั่ว.