การศึกษา การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่องปริซึม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ทวีศักดิ์ ขันตรี
วรรณธิดา ยลวิลาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์และสาเหตุการเกิดมโนทัศน์คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริซึมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีวิธีการเลือกแบบสุ่มเลือกโดยใช้สลากในการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ 2. แบบสัมภาษณ์นักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่มีมโนทัศน์คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ โดยจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ซึ่งพบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมา มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 65 มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการตีความโจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 60 และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับนิยาม ทฤษฎี และสมบัติ คิดเป็นร้อยละ 30 ตามลำดับ และ 2) สาเหตุมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนส่วนมากมาจากนักเรียนยังไม่เข้าใจในเรื่องปริซึม และยังไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาและตีความโจทย์ปัญหาที่กำหนดได้ เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเนื้อหา

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

ขวัญชนก กิจเธาว์, และ ไอริน ชุ่มเมืองเย็น. (2565). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(3), 144–154.

ณรงค์ ปุณนิ่ม. (2556) ครูมืออาชีพ สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2018. https://ajnawarut .files. 268 เวิร์ดเพรส.คอม.

ปิยณัฐ ชัยเพ็ง. (2559). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเศษส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มณีรัตน์ ขยันกลาง. (2559). การวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางพีชคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุดารัตน์ ปัทมาสราวุธ, ธารีรัตน์ ธนัตถ์พาณิชย์, และ วราภรณ์ จาตนิล. (2565). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่. Proceeding National & International Conference, 15(2), 22.

ไอริน ชุ่มเมืองเย็น, พรรณี เหมะสถล, และ วีรวัฒน์ ไทยขำ. (2561). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางพีชคณิตของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. รายงานการประชุม Graduate School Conference, 2(1), 1035–1042.

Chiphambo, S. M., & Mtsi, N. (2021). Exploring Grade 8 Students’ Errors When Learning About the Surface Area of Prisms. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 17(8), em1985. https://doi.org/10.29333/ejmste/10994