การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ

Main Article Content

ณัฐณิชา ภูมิมา
สมใจ ภูครองทุ่ง
อุทุมพร แสนโยธา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง จำนวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนแบบเชิงรุกร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนแบบเชิงรุกร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง จำนวนนับไม่เกิน 1,000 และ 0 แบบบันทึกคะแนน แบบฝึกทักษะและใบกิจกรรมของนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผลจากการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุกร่วมกับการใช้แบบฝึกทักษะ ผลปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 9.04 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.43 คะแนน ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 7.39 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จิระพันธุ์ ปากวิเศษ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดพืชนิมิต (คำสวัสดิ์ราษฎร์บำรุง). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิราภร อรรถพร และประกอบ กรณีกิจ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงรุกออนไลน์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9, หน้า 122-136.

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธนวรรณ นัยเนตร. (2560) ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง ฟังก็ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยUTK ราชมงคล กรุงเทพ, 11(1), 85-94.

แพรทิพย์ พูดเพราะ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็มโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภรพิชญา พุตซ้อน. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านควนเคี่ยม. ตรัง.

มยุรี โรจน์อรุณ. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการกลุ่มที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มานิดา กีรติวศิน. (2565, มิถุนายน 10). ครู, โรงเรียนชุมชนบ้านเขาแก้ว. สัมภาษณ์.

วัฒนศิริ ชมหมู่. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearning ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องตรรกศาสตร์เบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางแพปฐมพิทยา. งานวิจัยโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลปเป้า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ศิริรัชส์ อินสุข, อภิชาติ อัจฉริยศักดิ์ชัย และรณภพ อิ้มทับ. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบ เชิงรุกรายวิชาชีวเคมี ตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน (หน้า 192-200). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

อรษา เจริญยิ่ง. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องคู่อันดับและกราฟ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดลาดหญ้าไทร (สิงหวิทยาคาร) โดยใช้การเรียนแบบเชิงรุก (ActiveLearning). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.