การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์จีนเรื่อง“把”โดยใช้สถานการณ์จำลองแก้ปัญหาของนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์จีน “把” โดยใช้สถานการณ์จำลอง และศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 25 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ไวยากรณ์จีน“把”โดยใช้สถานการณ์จำลอง 4 ขั้นตอน แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที(t-test) ผลจากการวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์จีน“把” ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.33 และ 26.70 ตามลำดับ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเรียน และจากการศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 นักศึกษายังสามารถนำความรู้ไปใช้ในด้านการเรียนการสอนและสามารถนำไปประยุกต์ ในระหว่างการฝึกสอนได้ โดยคิดเป็นร้อยละ 100
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dickins,P.M.R., and Woods,E.G. (1988). Some criteria for the development of communicative grammar tasks. TESOL Quarterly, 22(3), 623-646.
Johnson, Keith and Morrow, Keith. (1981). Communication in the Classroom. London : Longman.
Richards, Jack C. (1985). Longman Dictionary of Applied Linguistics. Harlow, England: Longman.
Su, Y. (2015). International Chinese Teaching Methods and Techniques for Teaching Chinese Grammar. Beijing: Beijing Language and Culture University Press.
Wang, X., Zhang, X. (2011). An Analysis on Acquisition Errors of the “Ba” Sentence by Intermediate Thai Students. Journal Of Qinzhou University, 26(4), 42-46.
Wei, H. (2006). The Error Analysis and Teaching Strategy of “Ba” Sentences to Thai Students at the Initial Stage. Journal Of Yunnan Normal University, 4(2), 54-58.
邓涵. (2018). 泰国学生高中生口语课“把”字句教学设计. 北京万方数据股份有限公司万方数据电子出版社.
许美玲. (2012). 初等水平泰国学生“把”字句的教学设计研究. 北京大学出版社.