การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านและเขียนสื่อความสำหรับ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

Main Article Content

ธารทิพย์ ขัวนา
ประสพสุข ฤทธิเดช
ภูษิต บุญทองเถิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนอ่านและเขียน
สื่อความสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนอ่านและเขียน
สื่อความสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 9
องค์ประกอบคือ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ 2) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนารูปแบบการสอน 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอนอ่านและเขียนสื่อความ 4) กระบวนการ
เรียนรู้ 5) บทบาทครู 6) บทบาทนักเรียน 7) บรรยากาศการเรียนรู้ 8) สื่อและแหล่งเรียนรู้และ 9) การ
ประเมินผล 2. ผลการใช้รูปแบบการสอนอ่านและเขียนสื่อความ สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
ในโรงเรียนบ้านกุดแคน พบว่า รูปแบบการสอนอ่านและเขียนสื่อความมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ
84.03/84.78 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 นักเรียนมีความสามารถการอ่านและเขียนสื่อความ
ได้คะแนนทดสอบระหว่างเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึง
พอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research article
Author Biographies

ประสพสุข ฤทธิเดช, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ภูษิต บุญทองเถิง, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). “ปี 2558 เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้” ประกาศนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธารทิพย์ ขัวนา. (2556). รายงานการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านและเขียนสื่อความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก. มหาสารคาม : สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นพวรรณ ธีระชลาลัย. (2549). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกิจกรรมแจกลูก สะกดคำ โดยใช้แผนผังความคิดและแบบฝึกทักษะ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิสมัย ลาภมาก. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มาลินี ระถี. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนสื่อความและเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศรีทูล ถาธัญและคณะ. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. รายงานความก้าวหน้างานวิจัย เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2555). รายงานผลการทดสอบระดับชาติ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปีการศึกษา 2554. เอกสารประกอบการประชุม ผอ.สพป., สพม. ทั่วประเทศครั้งที่ 3/2554 วันที่ 11-12 พฤษภาคม.

สุขุมาลย์ อนุเวช. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Leki, Wangdi. (1994). Factors affecting teacher morale under Trashigang district inBhutan. Bangkok : Mahidol University, 139 p.