รายงานการใช้ชุดนิเทศการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดนิเทศการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงสู่สถานศึกษาเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 2) เพื่อทดลองใช้ชุดนิเทศ
การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาฯ และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้ชุด
นิเทศการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาฯ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา
ได้แก่ ครูและผู้นิเทศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน 93 คน
เครื่องมือที่ใช้เป็น 1) ชุดนิเทศการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ 2) แบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ก่อน–หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ
3) แบบประเมินการใช้ชุดนิเทศการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ สถิติที่ใช้ ได้แก่
ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) ได้เอกสาร
ชุดนิเทศขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาฯ จำนวน 3 เล่ม มีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 82.33/89.42 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผลสัมฤทธิ์ก่อน-หลัง
การประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้ชุดนิเทศการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่
สถานศึกษาฯ ของผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งหมดของครูและผู้นิเทศ พบว่า แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินการใช้ชุดนิเทศการขับเคลื่อนหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาฯ ในด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็น
ประโยชน์ ของครูและผู้นิเทศ นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กาญจนา สร้างเอี่ยม. (2550). การรับรู้ การนำไปใช้และความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษานนทบุรี เขต 2 อ.ปากเกร็ด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
คณะกรรมการสหวิทยาลัยล้านนา. (2535). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 ในการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2533). กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมวิทยฐานะครู กรมการฝึกหัดครู.
บุญส่ง สีลา (2553). ผลการนิเทศโดยใช้ชุดนิเทศการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องเกษตรอินทรีย์ โดยความร่วมมือของครูผู้สอน. การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สมจิตร ยุเหล็ก. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครูโรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2556. จาก http://journal.thai-education.com/detail/298/.สหวิทยาลัยล้านนา.
สุรีพร เอี้ยวถาวร. (2550). การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. (2556). รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาพอเพียง ปี 2555.
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2554). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา(1). (Online). Postedby: Panchalee. http://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/supervision/.เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม.