การพัฒนารูปแบบระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ โรงเรียนน้ำดิบพิทยาคม “ADDIE MODEL”สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตากเขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ
โรงเรียนน้ำดิบพิทยาคม “ADDIE MODEL” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 1 ผล
การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพของโรงเรียนน้ำดิบพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 1 พบว่า ขาดแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
ไม่มีคู่มือ เครื่องมือในการประเมิน ไม่มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนไม่เป็นไปตามที่กระทรวงกำหนดขาด
การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง
นักเรียนและชุมชน ผลการสร้างรูปแบบระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า รูปแบบระบบ
ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนน้ำดิบพิทยาคม ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ 1. ส่วน
ปัจจัยนำเข้า 2. ส่วนกระบวนการ 3. ส่วนผลผลิต 4. ส่วนปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยที่สำคัญ
2 ประการคือ 1) ปัจจัยภายใน 2) ปัจจัยภายนอก ผลการทดลองใช้พบว่า มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
และการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผลการประเมินตนเองในระดับดีเยี่ยมและผลการประเมินรูปแบบระบบประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนน้ำดิบพิทยาคม “ADDIE MODEL” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตากเขต 1 พบว่า มีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิ่งทอง ใจแสน. (2553). แนวทางพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กำแพงเพชร : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาบันราชภัฎกำแพงเพชร.
กานต์เลิศ ก้อนหิน. (2555). การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
โกวิท หาญสมบัติ. (2555). สภาพการดำเนินงานการปรันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
จักราช หินซุย. (2556). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นวพรรดิ์ นามพุทธา. (2555). รูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
มานะ ทองรักษ์. (2549). การบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553 ก). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการกำหนดและแก้ไขการเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. เล่ม 127 ตอนพิเศษ 97 ง, สิงหาคม 2553. (สำเนา).
สมเดช สีแสง. (2549). การพัฒนาระบบส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). พิษณุโลก:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). ระบบการกำกับ ติดตามและดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันภายในของสถานศึกษาเล่มที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.