การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การเสริมสร้างค่านิยมรักความเป็นไทย ด้านการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

เฉลียว ดอนกวนเจ้า
ภูษิต บุญทองเถิง
ประสพสุข ฤทธิเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 2) ศึกษาประสิทธิผลของการทดลอง
ใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การเสริมสร้างค่านิยมรักความเป็นไทยด้านการแสดงหมอลำเรื่องต่อกลอนของ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 158 คน แยกเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 110 คน ครูผู้สอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน
10 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตร กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ จำนวน 34 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การเสริมสร้างค่านิยมรักความเป็นไทยด้านการแสดงหมอลำเรื่อง
ต่อกลอนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการศึกษา
ประสิทธิผลของการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีค่านิยมรักความเป็นไทยอยู่ในระดับสูงที่สุด และ
3) นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3. ผลการศึกษาประสิทธิผลของการขยายผล
การใช้หลักสูตร พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีค่านิยมรักความเป็นไทยอยู่ในระดับสูงที่สุด และ 3) นักเรียนมีความ
พึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research article

References

ทิศนา แขมมณี. (2544). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุพิศ อัคพิน. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ผ้าฝ้ายย้อมสีเปลือกไม้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยาโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

นำใจ อุทรักษ์. (2553). การศึกษาและแนวทางการพัฒนาหมอลำเรื่องต่อกลอนในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัณฑ์ธิมา ภูรีโรจน์. (2550). “การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ระบำกรมหลวงชุมพรรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดชลบุรี” วารสารหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา. 1(1) ; (ก.ค. 2549 - มี.ค. 2550) : 65-77.

เมทินี จำปาแก้ว. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาดนตรีพื้นบ้านเรื่องการดีดซึ่งสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :สุวีริยาสาส์น.

Burnard, Sonia. (1998). Developing Children's Behaviour in the Classroom a Practical Guide for Teachers and Students. London : The Falmer Press.