กลยุทธ์การจัดการศึกษาสงเคราะห์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตนักเรียน ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ประเวศ ทั้งจันทร์แดง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาแนวทางและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัด
การศึกษาสงเคราะห์ 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาสงเคราะห์ 3) ประเมินกลยุทธ์การจัดการศึกษา
สงเคราะห์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตนักเรียนของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงาน
การศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ
1) ศึกษาปัญหาแนวทางและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสงเคราะห์ โดยใช้แบบสอบถามกับ
บุคลากร 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร 152 คน ครู 338 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา 254 คน และ
โดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาสงเคราะห์ โดยการประชุมเชิง
ปฏิบัติการการจัดทำร่างกลยุทธ์ โดยผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน ครู 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษา
5 คน และตรวจสอบร่างกลยุทธ์โดยสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำวน 10 คน 3) ประเมินกลยุทธ์ที่ปรับปรุง
แล้ว 3 ด้าน คือ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์ โดยใช้
แบบสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหา แนวทางการจัดการศึกษาสงเคราะห์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
นักเรียนของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรากฏว่า 1.1) ด้านการดูแลนักเรียน นักเรียนมีจำนวนมากต่อการดูแลของครู
ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านได้แก่ ด้านโภชนาการ สุขภาพนักเรียน และขาดงบประมาณ
ซ่อมแซมครุภัณฑ์ในการพัฒนางานบ้านงานครัว การส่งเสริมงานอนามัย และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
แนวทาง คือ ปรับสัดส่วนครูให้เพียงพอแก่นักเรียน พัฒนาครูด้านโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้มี
ทักษะการทำงาน และเสนอจัดตั้งงบประมาณเพื่อซ่อมแซมครุภัณฑ์ ส่งเสริมงานอนามัย และ
สิ่งแวดล้อม 1.2) ด้านการจัดการศึกษา หลักสูตร การวัดและประเมินผลไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหา
นักเรียนที่แตกต่างกัน ขาดการพัฒนาทักษะชีวิต ครูขาดทักษะการสอนอาชีพ แนวทาง คือ สถานศึกษา
ปรับหลักสูตร การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับสภาพปัญหานักเรียน พัฒนาครูให้มีความรู้ในการ
พัฒนาทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ และ 1.3) ด้านการส่งต่อ ขาดครูแนะแนวให้คำปรึกษาด้านวิชาการ
และวิชาชีพ แนวทาง คือ พัฒนาครูแนะแนวให้มีความรู้ด้านการแนะแนวในขณะที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ปรากฏว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็ง และจุดอ่อน ด้านโครงสร้างและนโยบาย คือ นโยบายการจัด
การศึกษา มีความชัดเจน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่ครอบคลุม ด้านผลผลิตและการบริการ คือ
ให้บริการความรู้และเทคโนโลยี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น่าพอใจ ด้านบุคลากร คือ บุคลากร
ศรัทธาในวิชาชีพ และครูมีภาระงานมาก ด้านประสิทธิภาพทางการเงิน คือ ใช้เงินเกิดประโยชน์สูงสุดใน
การบริหารจัดการ และไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง และชุมชน ด้านวัสดุอุปกรณ์ คือ มีวัสดุ และ
อุปกรณ์เพียงพอ และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายไม่ครอบคลุม และด้านการบริหารจัดการ คือ มี
พื้นที่ที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา และขาดการส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนปัจจัย
สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นโอกาสและอุปสรรค ด้านเศรษฐกิจ คือ ฝึกให้นักเรียนมีทักษะอาชีพและ
ผู้ปกครองไม่มีเวลาในการดูแลบุตรหลาน ด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียน
การสอน และบิดา มาดารไม่มีเวลาดูแล ด้านการเมืองและกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติการศึกษาเอื้อต่อ
การเรียนการสอน และนโยบายรัฐบาลไม่แน่นอน ด้านเทคโนโลยี คือ มีเว็บไซต์ในการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร
และกิจกรรม และไม่มีแหล่งสืบค้นข้อมูลแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมที่หลากหลาย
2) การพัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาสงเคราะห์ สงเคราะห์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
นักเรียนของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 2.1) ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า สภาพแวดล้อมภายในโน้มเอียง
ไปทางจุดแข็ง และสภาพแวดล้อมภายนอกโน้มเอียงไปทางโอกาส 2.2) กลยุทธ์ที่สร้างขึ้นในด้าน
3 ด้าน ได้แก่ ด้านการดูแลนักเรียน ด้านการจัดการศึกษา และด้านการส่งต่อนักเรียน ประกอบด้วย
3 ประเด็นกลยุทธ์ 16 มาตรการ 3) ประเมินกลยุทธ์การจัดการศึกษาสงเคราะห์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตนักเรียนของโรงเรียน
ศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
ทุกด้าน

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการขับเคลื่อนการศึกษาเพื่อการมีงานทำ. กรุงเทพฯ:องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ธรรมนูญ ศรีจำนง. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกรมศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2555). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2556). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.