การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ รายวิชา ศ 1110 ศิลปะ(ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร

Main Article Content

ธงชัย ช่อพฤกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ รายวิชา ศ 13101 ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร วัตถุประสงค์การวิจัยมี 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาและหาxระสิทธิภาพสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ รายวิชา ศ 13101 ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนผ่านสื่อเนื้อหาบทเรียนเล็กทรอนิกส์ ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ รายวิชา ศ 13101 ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนผ่านสื่อเนื้อหาบทเรียนเล็กทรอนิกส์ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะรายวิชา ศ13101 ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร การดำเนินการวิจัยเพื่อให้ได้สื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้จัยได้เลือกวิธีดำเนินการวิจัยเป็นลักษณะของการวิจัยการพัฒนา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร กลุ่มบุคลากรโรงเรียน บุคลากรเทศบาล และคณะกรรมการชุมชนทั้ง 27 ชุมชน และนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ที่เรียน วิชา ศ 13101 ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง และได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย เพื่อให้ได้สื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ประกอบด้วย ขั้นตอนในการสร้างและพัฒนาสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา ศ 13101 ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขั้นตอนในการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และขั้นตอนในการทดลองใช้บทเรียนและการวิเคราะห์ข้อมูล จากการดำเนินการวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Classroom) รายวิชา ศ 13101 ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ สามารถสรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. สื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา ศ 13101 ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.25 และ 90.25 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนผ่านสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชา ศ 13101 ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก

Article Details

How to Cite
ธงชัย ช่อพฤกษา. (2022). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ รายวิชา ศ 1110 ศิลปะ(ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2(3), 23–34. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/819
บท
Research article

References

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2555). หลักการออกแบบและการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

เสาวลักษณ์ บุญญวนิช (2555) บทเรียนออนไลน์. กรุงเทพฯ : สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.tsu.ac.th/cc/wbLtraining/e-leaming.htm.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2558). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8) กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัฒน์ วัฒบวงศ์. (2556). การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องสายอาชีพ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ค. (อาชีวศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Betz, M., K.(2009) "Distance Education: A Systems View" Journal of Information and Communication Technology Education, 1(4), 70-72, Oct-Dec 2005.

Kruse,K. (2005). The Benefits and Drawbacks of e-Learning. [Online]. Available:http://www.e-leamingguru.com/articles/art1_3htm.