การเสริมสร้างสมรรถภาพการพัฒนาหลักสูตรและออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน สำหรับบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

มงคล หมู่มาก

บทคัดย่อ

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถภาพการพัฒนาหลักสูตรและออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน สำหรับบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การเสริมสร้างสมรรถภาพการพัฒนาหลักสูตร และออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน สำหรับบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเสริมสร้างสมรรถภาพการพัฒนาหลักสูตรและออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนและครูวิชาการในสถานศึกษา จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฯ แหล่งข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และบุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม แหล่งข้อมูลได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 40 คน ใช้ระยะเวลาทดลอง 4 วัน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ คู่มือหลักสูตรสำหรับผู้ให้การฝึกอบรม คู่มือหลักสูตรสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม แบบประเมินสมรรถภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t- test Dependent การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม แหล่งข้อมูลได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย ความเป็นมาของหลักสูตรฝึกอบรม หลักการของหลักสูตรฝึกอบรม จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม หัวข้อวิชาการหลักสูตรฝึกอบรม โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรม แนวทางการฝึกอบรมและรูปแบบการฝึกอบรม สื่ออุปกรณ์การฝึกอบรม การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม มีความเหมาะสมและความสอดคล้องกันทุกประเด็น การทดลองใช้ พบว่าสมรรถภาพการพัฒนาหลักสูตรและออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐานหลังทดลองใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนทดลองใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ย คะแนนสมรรถภาพด้านความรู้ความเข้าใจ มีประสิทธิผลสูงกว่าเกณฑ์ 70 ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านเจตคติและทักษะการปฏิบัติมีประสิทธิผลสูงกว่าเกณฑ์ ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลงานการพัฒนาหลักสูตรและออกแบบการเรียนรู้ อยู่ในระดับดีค่าเฉลี่ยของคะแนนการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก และค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของการใช้หลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของการใช้หลักสูตรอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research article

References

เกศริน มนูญผล. (2544). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถภาพด้านการจัดทำหนังสือ เสริมประสบการณ์ที่สอดคล้องกับท้องถิ่น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนา หลักสูตร). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.เอกสารอัดสำเนา.

จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2542). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

พนิจดา วีระชาติ. (2543). การฝึกอบรมกับการพัฒนาอาชีพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2544). การกระจายอำนาจการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ ม.ป.ท. (เอกสารอัดสำเนา).

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2550). แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ ภาควิชา การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร http://gotoknow. org/blog/wareeratk/66304 สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2550.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

วิเชียร อินทรสมพันธ์. (2546). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการบูรณา การจริยธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับครูมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เอกสารอัด สำเนา.

สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มิตรสยาม.

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). โครงการวิจัยเรื่องการ กำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2. (2549). รายงานผลการนิเทศติดตามและประเมินผลการ จัดการศึกษา สุโขทัย : เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2. (2549). สภาพปัญหาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตร การศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. สุโขทัย : เอกสารอัดสำเนา.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดย ใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Byars. ; Rue W. (1994). Human Resource Management 4th ed Boston : Richard D.IRWIN.INC.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.

Houston, W, Robert and others. (1972). .Developing Instruction Modules , A Modular System for Writing Module. Texas: University of Houston,