ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์สัน เรื่อง การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ดวงจันทร์ สุขวิชัย

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์สัน เรื่อง การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์สัน เรื่อง โปรแกรมตารางคำนวณ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนรายหน่วยการเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัย 1. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์สัน เรื่องโปรแกรมตารางคำนวณ ที่พัฒนาขึ้นมามีประสิทธิภาพ มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.80 2.นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์สัน เรื่องโปรแกรมตารางคำนวณ ที่พัฒนาขึ้นมามีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เท่ากับ 86.32/90.23 3. คะแนนการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 12.83 เป็น 27.07 4.ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนตามนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการสอนทักษะปฏิบัติแบบซิมพ์สัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ค่าคะแนนความพึงพอใจโดยรวมเท่ากับ 4.14 หมายถึงนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากต่อกิจกรรมการเรียน การสอน

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การจัดสาระหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. (ร.ส.พ.).

กิติมา ปรีดีดิลก. (2529). ทฤษฎีบริหารองค์กร. กรุงเทพฯ : ชนะการพิมพ์.

ชลิยา ลิมปิยากร. (2536). เทคโนโลยีการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. ธนบุรี : ภาควิชาเทคโนโลยีและ นวัตกรรม ทางการศึกษาคณะวิชาคุรุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ ธนบุรี.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2545). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. เอกสารประกอบคำบรรยายรายวิชา 0503860 ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ธานี จันทร์นาง. (2556). “สะท้อนความคิดจากประสบการณ์การใช้กิจกร STEM Education ในห้องเรียน” สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 19 (3) : 29-36 จ มกราคม.

นัสรินทร์ บือชา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการ จัดการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2545). จากมาตรฐานสู่ชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประวิต เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้าวิชาการ.

เผชิญ กิจระการ. (2544). “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2),” วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7(6) : 44-62 ; กรกฎาคม.

เผชิญ กิจระการ. (2548). เทคโนโลยีการศึกษา : การใช้และการประเมิน. มหาสารคาม : ภาควิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชรี อินทปัญญา และคณะ. (2557). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อ วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในเนื้อหาเรื่องปริมาณสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พลศักดิ์ แสงพรมศรี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นสูง และเจตคติต่อการเรียนเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ วท.ม. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย.(2556, เมษายน-มิถุนายน). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษ ที่21. วารสารนักบริหาร Executive Journa. 3(2): 49-56. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2557 จาก: http://www.bu.ac.th/knolegecenter/executive_journal/april_june_13/pdf /aw07.pdf

มนตรี จุฬาวัฒนฑล. (2556). “การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิศวกรรมและคณิตศาสตร์ หรือ “สะเต็ม”, สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 19(3) : 3- 14 ; มกราคม-ธันวาคม.

ราษี สืบโมรา. (2556). รูปแบบการพัฒนาการคิดเชื่อมโยงด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ PPIA MODEL ตามแนวสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การค้นคว้าแบบอิสระ รป.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2545). การเขียนแผนการสอน. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

วิชชุกร เกสรบัว. (2554). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีซิมพ์ซัน กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่องการทำขนมท้องถิ่นสุรินทร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วุฒิชัย ประสารสอย. (2543). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนวัตกรรมเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: วี เจ พรินติ้ง.

ศศิกาญจน์ ไชยเสนา. (2558). รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน. สืบค้น เมื่อ15 มิถุนายน 2558 จาก: https://www.scribd.com/document/38688243/ B8%95%E0%B8%B4.

ศรีวัย กัณหาไธสง. (2556). “การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรม STEM เพื่อสร้างแรงบันดาลใจทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.” การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียน. 5(2) : 141-150 ;สิงหาคม.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). “สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21,” นิตยสาร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท. 42(1) : 3-5 ; เมษายน.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). “การบูรณาการสะเต็มศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้น้เรียน,” วารสาร ศึกษาศาสตร์มหาลัยนเรศวร. 17(3) : 154-160 ; กรฎาคม-กันยายน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). “สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21,” นิตยสาร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท. 42(1) : 3-5 ; เมษายน.

อภิสิทธิ ธงไชย. (2556). สะเต็มศึกษากับการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารสมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 19 : 15-18.Bybee, R.W. (2010). ''Advancing STEM Education : A 2020 Vision," Technology and Engineering Teacher. 70(1) : 30-35 ; October, 2010.

Becker, K. (2011). "Effects on Integrative Approached Among Science. Technology, Engineering, and Mathematics (STEM) Subject on Student’s Learning : A Preliminary Meta-analysis,” Journal of STEM Education. 12(5-6) : 23-37 ; March.

Calck, Ann-Marie. (2001). “Implementing the Project Approach : A Beginner,’ Approach : Perspective,” Dissertation Abstracts International. 62(6) : 2014-A ; December.

Dowey, ,A.L. (2013). Attitudes, Interest, and Perceived Self-efficacy toward Science of Middle School Minority Female Students : Considerations for their Low Achievement and Participation in STEM Disciplines" United States : University of California.

Lou, M.E. (2010). "Challenges and Benefits of Introducing a Science and Engineering Fair in High-Needs Schools (Work in Progress)," American Society for Engineering Education. 5(3) : 125-fiA ; June.

O'Neill, T.L. (2012). and others. 'Teaching STEM Means Teacher Learning," Phi Delta Kappan. 94(1) : 36-40 ; June.

Simpson, C. and Y. Du. (2004). "Effects Of Learning Styles and Class Participation on Students' Enjoyment Level in Distributed Learning Environments," Journal of Education for Library and Information Science" 45(2) : 123-136.

Smith, Kenneth Harold. (2003). “The Effectiveness of Computer-Assisted Instruction on the Development of Rhythm Reading Skills Among Middle School Instrumental Students,” Dissertation Abstracts International. 63(11) : 3891-A ; May.