แนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองญี่ปุ่นบนพื้นฐานวิชาหน้าที่พลเมือง

Main Article Content

สาลินี โฮมแพน
พิศาล เครือลิต
อังคณา อ่อนธานี

บทคัดย่อ

การประยุกต์กระบวนการพัฒนาความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาทัศนคติและสมรรถนะ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาพลเมืองประเทศญี่ปุ่น การสอนสังคมศึกษาจึงใช้วิธีนี้ในการสอนนักเรียนให้มีความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นและมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่อง สิทธิมนุษยชน, ประชาธิปไตย และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มุ่งเน้นกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตในสังคม และมุ่งหวังให้นักเรียนมีความตระหนักในพื้นที่สาธารณะผ่านกฎเกณฑ์นี้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาคนและการสร้างพลเมืองต้องใช้เวลาต่อเนื่องและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนานั้น จึงไม่มีวิธีการใดเหมาะสมเท่ากับการบรรจุไว้ในการกำหนดเป็นนโยบายหลัก บรรจุเป็นหลักสูตรการศึกษา พร้อมกับการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางสังคมที่สนับสนุนการสร้างพลเมือง เป็นแรงขัดเกลาทางสังคม เป็นแรงเสริมต่อกระบวนการเรียนรู้ และให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของทุกคน ซึ่งต้องอาศัยความตั้งใจเรียนรู้ในปรัชญาการศึกษาที่แท้อย่างมีสติใช้ปัญญา และการฝึกตนในการเป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศเท่านั้นจึงเป็นคำตอบของแนวทางการพัฒนาพลเมืองของประเทศบนพื้นฐานของวิชาหน้าที่พลเมือง 

Article Details

How to Cite
สาลินี โฮมแพน, พิศาล เครือลิต, & อังคณา อ่อนธานี. (2022). แนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองญี่ปุ่นบนพื้นฐานวิชาหน้าที่พลเมือง. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 3(5), 96–106. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/846
บท
Research article

References

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2547). ประชารัฐกับการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2557). พลเมือง สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบัน นโยบายการศึกษา ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมนโยบายการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). การจัดการภัยพิบัติและ การฟื้นฟูบูรณะหลังการเกิดภัยกรณีศึกษาไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัท ศูนย์การ พิมพ์เพชรรุ่ง จำกัด.

สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานผลการศึกษาการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉันทนา จันทร์บรรจง. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของประเทศสมาชิกองค์การระดับนานาชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐาน การศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญชู ตันติรัตนสุนทร. (2558, สิงหาคม). “ลักษณะพื้นฐานของคนและสังคมญี่ปุ่น” ใน คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. ฉบับที่ 2 เดือนสิงหาคม 2015.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2554). มองญี่ปุ่น มองไทย [ออนไลน์]. อ้างถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2561. สืบค้นจาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1579.

ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (2550). “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง : ฐานรากของการเมืองภาคพลเมือง” ใน วารสารสถาบันพระปกเกล้า. ปีที่ 6(2), หน้า 101-115.

Piaget, Jean. (1960). The Moral Judgment of the Child. New York: Collier Book.