การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ กรณีศึกษา สาระการเรียนรู้จำนวนและการดำเนินการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามขั้นตอนของโพลยา (Polya) กับเกณฑ์ และเพื่อศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีมต่อการกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามขั้นตอนของโพลยา (Polya) นักศึกษาโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบวัดทักษะการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการทดสอบค่าที (One Sample test) วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักศึกษาหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามขั้นตอนของโพลยา (Polya) สูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามขั้นตอนของโพลยา (Polya) มีทักษะการทำงานเป็นทีม โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์์คุรุสภาลาดพร้าว.
คมกฤช คำยวง. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเจตคติสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพริน ขุนเพชร. (2554). พัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามวิธีการสอนของ Poly สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
Polya, G. (1957). How to Solve It. New York Management. New: John Wiley and Sons, Inc.
Robbins, Stephen P. (2007). Management. New Jersey : Pearson Education.
Tappen, R. M. (1995). Nursing Leadership and Management. Philadelphia: F.A.Davis.
Tarricone and Luca (2002). Successful teamwork : A case study. Australia : HEARDSA.