การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดความยึดมั่นผูกพันร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดความยึดมั่นผูกพันร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ 3)ศึกษาความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน นักศึกษากลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) รูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความยึดมั่นผูกพัน 4) แบบประเมินสมรรถนะ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ทดสอบค่าที (t-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ แนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการเรียนการสอน คือ กระตุ้นดึงดูดความสนใจ กระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม แจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ นำเสนอสิ่งเร้าหรือสาระเนื้อหาใหม่ กระตุ้นให้แสดงออกถึงความรู้ความสามารถ ให้แนวทางการเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนรู้ และส่งเสริมความคงทนของความรู้ 4) สภาพแวดล้อมและแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ และมีประสิทธิภาพ 82.31/83.79 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) นักศึกษามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินตนเองสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3) นักศึกษามีความยึดมันผูกพันต่อการเรียนการสอนโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยรูปแบบการเรียนการที่สร้างขึ้น โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กำพล วิลยาลัย. (2560). การสอนแบบโครงงานคอมพิวเตอร์. โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย : ราชบุรี.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2533). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.
ปรียา บุญญสิริ, พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข, และ ราเชน มีศรี. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน : การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณี ชูทัยเจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ.
รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). การวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร รณะบุตร. (2558). การศึกษาและพัฒนาความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนระดับปริญญาตรีสาขาการศึกษาปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาทดสอบและวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Bender, W. N. (2012). Project-Based Learning : Differentiating Instruction for the 21st. Century. California : CORWIN A SAGE Company.
Clark, J.C. and Walsh, J. (2007). Rationing scarce life-sustaining resources on the basis of age. Journal of Advanced Nursing, 35(5), 799-804.
Handscomb, G., and MacBeath, J. (2003). The Research-Engaged School. Colchester: Essex County Council, Forum for Learning and Research Enquiry (FLARE).
Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personnality. New York : Harper and Row Publishers.
Sharp et al. (2003). The New Public Service: Serving not Steering. New York : Sharpe.