การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ผ่านค่ายภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูผ่านค่ายภาษาอังกฤษ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูเกี่ยวกับพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ รหัส 5751201 ที่กำลังศึกษาอยู่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูเกี่ยวกับพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. และการทดสอบค่า t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ((gif.latex?\bar{x})=4.52, S.D.=0.33) และ 2) ผลการพัฒนาการด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ((gif.latex?\bar{x}) = 4.45, S.D.=0.34)

Article Details

How to Cite
อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ. (2022). การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ผ่านค่ายภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 3(6), 93–106. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/863
บท
Research article

References

เฉลียวศรี พิบูลชล. (2535). เอกสารประกอบการสอนวิชาการสร้างกิจกรรมเสริมหลักสูตร. กรุงเทพฯ.

ทัศนา ประสานตรี. (2555). การพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม; ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 : กันยายน - ธันวาคม 2555.

ปนัดดา อามาตรและคณะ. (2560). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนขยายโอกาสทาง การศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทางานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระครูธรรมศาสนโฆสิต (อนาลโย). (2550). ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตาม หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรม สามัญศึกษาอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพครั้งที่ 5. นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพร มโนพิเชษวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่องร่างกายมนุษย์. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สกุณา นันทะชัย (2552). การจัดการศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาพิเศษ ของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร.บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อุไร จักษ์ตรีมงคล. (2557). การพัฒนาแบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครู. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยและพัฒนา ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

Romine, S. (1974). Student and Faculty Perception of an Effective University Instructional Climates. The Journal of Educational Research. 68: December.