การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมด้วยกระบวนการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะ ในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของครูสอนภาษาอังกฤษในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น 3) ใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นและ 4) ประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน แหล่งข้อมูลได้แก่ ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 จำนวน15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นแบบประเมินทักษะในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น แบบประเมินเจตคติที่มีต่อการจัดทำประเด็นสนทนา แบบประเมินหลักสูตรฝึกอบรมและคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น หลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นแบบประเมินความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น ผลการวิจัย
พบว่า สมรรถนะที่จำเป็นของครูสอนภาษาอังกฤษในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นได้แก่ สมรรถนะด้านความรู้ 5 ด้าน คือ 1) การจัดทำหลักสูตร 2) แหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น 3)ภาษาเพื่อการท่องเที่ยว 4) คุณลักษณะของมัคคุเทศก์ 5) กระบวนการวิจัย สมรรถนะด้านทักษะและทักษะปฏิบัติ 5 ด้าน คือ 1) การจัดทำหลักสูตร 2) การวัดประเมินผล 3) การจัดทำโครงสร้างหลักสูตร 4) การนำหลักสูตรไปใช้ 5) การนำเสนอ สมรรถนะด้านเจตคติ 5 ด้านคือ 1) ความสนใจใฝ่เรียนรู้ 2) ความภูมิใจในท้องถิ่น 3) ความต้องการให้นักเรียนรักท้องถิ่น4) ความมุ่งมั่นและมีความรับผิดชอบ 5) ความต้องการจัดทำหลักสูตรฯ หลักสูตรฝึกอบรมมีองค์ประกอบต่อไปนี้ 1) ปัญหาและความจำเป็น 2) วิสัยทัศน์ 3) หลักการ 4) เป้าหมาย 5) จุดประสงค์ 6) โครงสร้าง 7) เนื้อหา 8) กิจกรรมการฝึกอบรม 9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ในการฝึกอบรม และ 10) การประเมินผล และคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการจัดทำหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมพบว่า ครูมีความรู้หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่าค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงกว่าระดับ 3 คือ ระดับดีทุก
คน ครูมีทักษะปฏิบัติสูงกว่าระดับ 3 คือ ระดับดีทุกคน ครูมีเจตคติหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงกว่าระดับ 3 คือ ระดับดีทุกคนผลการประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษฯ อยู่ในระดับดีมากทุกรายการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
คันศร คงยืน. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสมรรถนะหัวหน้าศูนย์บ่มเพาะอาชีวศึกษาในมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด., มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2542). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา (Training and Development).กรุงเทพฯ : พี เอ ลิฟวิ่ง.
ไชยรัตน์ ปราณี. (2547). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการศึกษาชุมชนเพื่อสืบค้นองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
วารีรัตน์ แก้วอุไร และเทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2552). รายงานการวิจัยการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิริพงษ์ เพียศิริ. (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตด้วยกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการผลิตผลงาน.คณะปริญญาดุษฎีบัณฑิต, ครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมใจ กงเติม. (2556.) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สาขาวิชาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
อมรรัตน์ วัฒนาธร. (2552). การพัฒนาหลักสูตรที่มีทรัพยากรเป็นฐาน:กรณีศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักเรียนในจังหวัดพิษณุโลก. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Davis, L. E. (1977). Enhancing Quality of working life. New York: Mc Graw Hill.
Fisher Schoenfeldt and Shaw. (1996). Human resource management. Boston: Houghton Miffin.
Taba, Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace &World.