อนาคตภาพการจัดการมัธยมศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 41 ในทศวรรษหน้า (2557–2567)

Main Article Content

ธนกฤต สิทธิราช

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการจัดการมัธยมศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ในทศวรรษหน้า (2557 – 2567) วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาอนาคตภาพการจัดการมัธยมศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ในทศวรรษหน้า (2557 – 2567) โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามกรอบการจัดการศึกษาไทย อนาคตของสังคมไทย (Delphi Futures Research) 2) นำข้อมูลที่ได้จากตอนที่ 1 ปรับปรุงข้อความให้ชัดเจนเพื่อสอบถามหาฉันทามติเกี่ยวกับอนาคตภาพการจัดการมัธยมศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ในทศวรรษหน้า (2557 – 2567) โดยใช้ เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) กับผู้เชี่ยวชาญ 20 ท่าน จำนวน 2 รอบ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาอนาคตภาพการจัดการมัธยมศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 ที่มีปัญหามี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านสาระเนื้อหาหลักสูตรในการศึกษา ด้านการบริหารการศึกษา ด้านครู ด้านสถานศึกษาและสภาพแวดล้อม ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการสอน และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 2)อนาคตภาพการจัดการมัธยมศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ในทศวรรษหน้า (2557 – 2567) ตามฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ สรุปว่า ด้านสาระเนื้อหาหลักสูตรจะเป็นไปตามความสนใจ ความรู้ ความสามารถของนักเรียนโดยสาระการเรียนเป็นการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบดิจิตอล ด้านการบริหารการศึกษาเป็นระบบที่ดี คำนึงถึงภาวะผู้นำที่ดี กล้าตัดสินใจ มีการกระจายอำนาจเต็มรูปแบบให้สถานศึกษา ด้านครูผู้สอนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ทางเทคโนโลยี ด้านสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมทางกายภาพสวยงาม ร่มรื่น ด้านการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์สังเคราะห์มากขึ้น ด้านสื่อการสอนใช้สื่อการสอนทันสมัยในระบบดิจิตอล ผ่านสื่อการสอนระบบออนไลน์ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน เป็นนักคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาเองได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประสานความร่วมมือ และพัฒนาตนเองสู่การเป็นพลโลกของนักเรียน

Article Details

บท
Research article

References

กรมวิชาการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.

เกษม วัฒนชัย. (2545). การปฏิรูปการเรียนรู้. อนุสารอุดมศึกษา, 27(279), 13-15.

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2552). ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้: การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธเนศ ขำเกิด. (ม.ป.ป.). การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 จาwww.nan2.go.th/UserFiles/File/best.doc.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). การสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีรียสาส์น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). การพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2554). สัตตสิกขาทัศน์ เจ็ดมุมมองการศึกษาใหม่และการเรียนการสอนนอกกรอบ 7 ประการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2557). โรงเรียนสร้างสรรค์ :นวทัศน์สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2537). ประมวลสาระชุดวิชา สัมมนาการมัธยมศึกษา หน่วยที่ 7-10. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฏิวัติการศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มติชน.

สยามธุรกิจ. (2553). การศึกษาในอนาคต, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 จาก http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413342210.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล WORLD-CLASS STANDARD SCHOOL. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุชาติ สุขราช. (2555). คุณลักษณะพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 จาก http://www.gotoknow.org/posts/513823.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2547). ภาวะผู้นำ. เชียงราย: สถาบันราชภัฏเชียงราย.

สุพินดา ณ มหาไชย. (3 พฤษภาคม 2556). คมชัดลึกออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2556 จาก, http://www.komchadluek.net/detail/20130503/157502/FlippedClassroom.