การจัดกิจกรรมการเรียนที่บูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้รูปแบบ One Group Pretest-Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครู 2. เพื่อศึกษาจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครูที่เข้าร่วมทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการศาสตร์พระราชา 3. เพื่อศึกษาความคงทนของจิตสาธารณะในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลของนักศึกษาวิชาชีพครูที่เข้าร่วมทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการศาสตร์พระราชา กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการทดลองเป็น นักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2561 ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครู 2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริม จิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 8 แผน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยายและ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 8 แผน มีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2. นักศึกษาวิชาชีพครูที่เข้าร่วมการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะ มีจิตสาธารณะในระยะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. นักศึกษาวิชาชีพครูที่เข้าร่วมการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะ มีจิตสาธารณะในระยะหลังทดลองและติดตามผล ไม่มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
-