สมรรถนะความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

Main Article Content

กรรณิการ์ เปอะปันสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแบบภาวะผู้นำการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง 2. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครูผู้สอนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ใน 7 อำเภอ จำนวน 194 คน ตามสัดส่วนประชากรในแต่ละอำเภอ โดยการเทียบสัดส่วนและใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แบบผู้นำทางการสอน อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ แบบนักปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก แบบยึดหลักธรรม แบบผู้นำชุมชนด้านคุณธรรม และแบบใช้ประโยชน์จากโอกาส อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2. ผลการศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการวัดผลประเมินผล เทียบโอนผลการเรียน อยู่ในระดับมาก การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก และ 3. ผลความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยรวมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.64 ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
กรรณิการ์ เปอะปันสุข. (2022). สมรรถนะความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 4(8), 1–12. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/883
บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ:พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

คำนึง แก้วอนันต์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์: การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ซอฟี ราเซะ. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอทุ่งยางแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

นิลวรรณ วัฒนา. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยนันท์ จันทราลักษณ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อส่งเสริมกรุงเทพฯ.

ปัญญา แก้วกียูร. (2554). ชุดฝึกอบรมผู้บริหาร : การบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบการใช้โรงเรียนหรือเขตพื้นที่เป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (สปศ.).

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2552). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มารีน่า สะนี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดยะลา. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ยุพิน คงเพ็ชรศักดิ์. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2550). การพัฒนาหลักสูตร: ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

วราภรณ์ จอมทิพย์. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย: การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎหนองคาย.

ศศิวิมล สุขทนารักษ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ศิริพร ชาญสมิง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการบริหารวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฎฉะเชิงเทรา.

สงัด อุทรานันท์. (2552). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม: ภาควิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมิตา บุญวาส. (2553). เทคโนโลยีการศึกษา. ธนบุรี: มหาวิทยาลัยธนบุรี.

สุมาลี คุณสารวนิช. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครู สังกัดเทศบาลในจังวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎชลบุรี.

อดิลัน กือซา. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อุนากรรณ์ สวนมะม่วง. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

H0y, W.K. & Miskel. (2001). Educational administration: Theory,Research and Practice. 6th ed. New York: McGGraw-Hill.

Mc Carthy. (1971). The role of the secondary school principal in new jersey.Dissertation Abstracts.

Schulman. (2002). Management. New York: John Willey & Sons.

Ubben et at. (2001). The principal: Creative Leaderhip for effective schools. Boston: Allyn & Bacon Englewood Cliffs, New Jerey: Prince-Hall.