การพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านวังตะเคียนและโรงเรียนบ้านทุ่งเสือโทน จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

พงศชา บุตรนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของการพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหวและเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของครูในการใช้รูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหว โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 2 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาความต้องการในการพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหว โดยการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่สอนระดับชั้นระดับปฐมวัยวัย เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในพัฒนารูปแบบในการพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหว
ผลการวิจัย 1. ความต้องการพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหว ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โรงเรียนได้มีจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เพื่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ ด้านสังคมด้านสติปัญญา ด้านเนื้อหา โรงเรียนมีนโยบายให้ครูจะต้องเลือก/กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของเด็กอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเด็กได้เต็มตามศักยภาพ โดยเน้นให้ใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมการสังเกต การสืบค้น การปฏิบัติและการคิดแก้ปัญหาตลอดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งละ 50-60 นาที ด้านการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว ครูควรจะต้องได้รับความรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะการเลือก/จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายด้านดัชนีมวลกาย ความคล่องแคล่วว่องไว ความสมดุลของร่างกายความสัมพันธ์ระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อ การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กรู้จักการคิด วิเคราะห์ การดูแลความปลอดภัย สามารถปฏิบัติกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้ถูกต้อง การจัดกิจกรรมการพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหว ครูจำเป็นจะต้องได้รับความรู้เป็นอย่างมากโดยเฉพาะการเลือก/กำหนดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจให้กับเด็ก 2. การศึกษาประสิทธิภาพของครูในการใช้รูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหว พบว่าค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของครู ก่อน-หลัง การใช้รูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

How to Cite
พงศชา บุตรนาค. (2022). การพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านวังตะเคียนและโรงเรียนบ้านทุ่งเสือโทน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 4(8), 43–52. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/887
บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. กฎบัตรโตรอนโตเพื่อกิจกรรมทางกาย: ข้อเสนอระดับโลกเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ (The Toronto Charter for Physical Activity: A Global Call for Action) ฉบับปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 20 พฤษภาคม 2553. (Online). http://readgur.com/download/2198877, 30 กรกฎาคม 2560.

กรมสุขภาพจิต. (2557). โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ. (Online). http://www.dmh.go.th/downloadportal/Strategy/เด็กปฐมวัย.pdf, 27 กรกฎาคม 2560.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). ตาราง 9 ช่องกับการพัฒนาสมอง. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์บริษัท สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์.

นลินี เชื้อวณิชชากร. (2555). 11 ปัญหาสุขภาพลูกน้อยไฮเทคพ่อแม่ต้องตระหนัก.(Online). http://www.amarinbabykidsfair.com/articleview.aspx?AID=20#.VtwDeuaPvVY, 27 กุมภาพันธ์ 2559.

ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมสังคม แห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

ลดาวัลย์ คำภา. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี Sustainable Development Goals และแผนฯ 12 ของประเทศ. สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนในประเทศไทย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ ปีที่ 42 เล่ม 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.

ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็ก. (2549). แนวทางการบำบัดปัญหาด้าน Sensory Integration. (Online). http://www.thai-dbp.org/webboard/index.php?pid=journal.,27 กุมภาพันธ์ 2559.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. 2553. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. ม.ป.ท.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย: ตามแนวคิดไฮสโคป. พิมพ์ครั้งที่ 2. ห้างหุ่นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2552. สมรรถนะของเด็กปฐมวัยในการพัฒนาตามวัย 3-5 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 1.บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด.

สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550).นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ. 2550-2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). การศึกษาของเด็กปฐมวัยหัวใจสำคัญของการศึกษา. สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.). (2557). พัฒนาการเด็กปฐมวัยรากแก้วแห่งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.

รถจนา เถาพันธ์. (2549). พระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเนื่องในวันครูโลก. วารสารวงการครู.

Margaret Whitehead. (2011). Physical Literacy: Throughout the Life course. International Studies in Physical Education and Young Sport.Singer, D. (2006). Play=Learning. London: Oxford University Press.