ผลของโปรแกรมการฝึกพูดกับตนเองที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองในการเรียน รายวิชากีฬาและนันทการเพื่อคุณภาพชีวิต หลักสูตรวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพูดกับตนเองที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเองในการเรียนรายวิชากีฬาและนันทนาการเพื่อคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา จำนวน 31 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการฝึกการพูดกับตนเอง และได้ให้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดทำแบบสอบถามก่อนการฝึก และหลังการฝึก โดยใช้แบบสอบถามความวิตกกังวลในชั้นเรียน นำผลทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบความวิตกกังวล ก่อนการฝึกและหลังการฝึก ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยครั้งนี้พบว่าเทคนิคการพูดกับตนเองนั้นมีผลต่อความวิตกกังวลและส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเองของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนด้านความเชื่อมั่นในตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 เมื่อพิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยพบว่า กลุ่มที่ได้รับการฝึกการพูดกับตนเอง มีความวิตกกังวลทางกาย และด้านความวิตกกังวลทางจิตมีความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นก่อนการฝึก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
สมบัติ กาญจนกิจ และสมหญิง จันทรุไทย. (2542). จิตวิทยาการกีฬา แนวคิด ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ. : ไทยวัฒนาพานิช.
สืบสาย บุญวีรบุตร. (2541). จิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรี : ชลบุรีการพิมพ์.
Hardy, L., Jones, G., & Gould, D. (1996). Understanding psychological preparation for sport: Theory and practice of elite performers. Chichester, UK: Jones Wiley & Sons.
Theodorakis, Y., Weinberg, R., Natsis, P., Douma, E., & Kazakas, P. (2000). The effect of motivationl versus instructional ST on improving motor performance. The Sport Psychologist. 14: 253-272.