การพัฒนาฉลากสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับผลิตภัณฑ์ OTOP ในจังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่

Main Article Content

บัณฑิต ฉัตรวิโรจน์
อุมาพร ฉัตรวิโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาฉลากสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับผลิตภัณฑ์ OTOP ในจังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) พัฒนาฉลากสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ 3) ศึกษาความพึงพอใจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย การสำรวจสภาพและความต้องการในการพัฒนาฉลากบรรจุภัณฑ์ภาษาอังกฤษ สำหรับผลิตภัณฑ์ OTOP ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 103 คน สำหรับการพัฒนาฉลากสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ และความ พึงพอใจของผลิตภัณฑ์ OTOP ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 15 ผลิตภัณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพและความต้องการพัฒนาฉลากสินค้า แบบประเมินความเหมาะสม และความถูกต้องทางภาษาในการพัฒนาฉลากสินค้า ด้วยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการพัฒนาฉลากสินค้า การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ หาค่าความถี่และค่าร้อยละและการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพข้อมูลฉลากสินค้าส่วนมากไม่มีข้อมูลฉลากสินค้าเมื่อพิจารณาจำแนกรายข้อพบว่า ข้อที่มีข้อมูลฉลากสินค้ามากที่สุดคือ ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือชื่อของสินค้า, ราคาของสินค้า. ชื่อที่อยู่ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย รองลงมาคือ ตราสินค้า ที่เป็นข้อความ/สัญลักษณ์/รูปแบบ และข้อที่มีข้อมูลฉลากสินค้าน้อยที่สุดคือ เครื่องหมาย อย. / มอก. และความต้องการในการพัฒนา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการในการพัฒนาฉลากสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ ในทุกข้อมูลของฉลากสินค้า การพัฒนาฉลากสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับผลิตภัณฑ์ OTOP ในจังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ ตามข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 ผลิตภัณฑ์ คือ มะเขือเทศราชินี สวนพลพิทักษ์, เครื่องดื่มผงข้าวโพดหวาน สีแดง ราชินีทับทิมสยาม, เพ็ญนภา ข้าวเกรียบปลา, ข้าวกล้อง กข.43 SK สระแก้ว, กระยาสารท ฅนกวน, สวนคุณตุ๊ก, ข้าวปิ่นเกษตร ฅนหนองหลวง, ข้าวเกรียบกล้วยไข่ คนหาบกล้วย, ชาเกสรดอกกล้วยไข่, ว่านรางจืด ชาสมุนไพร บ้าน เค.ดี., ข้าวหอมมะลิ คนรักษ์แม่, ข้าวปลอดภัย, ข้าวเกรียบใบหม่อน mom-mom, ข้าวเกรียบแก้วมังกร mom-mom ความพึงพอใจต่อฉลากสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับผลิตภัณฑ์ OTOP ในจังหวัดกำแพงเพชร สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ ในภาพรวม ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกรายข้อพบว่า ฉลากสินค้ามีความถูกต้องใกล้เคียงกับต้นฉบับภาษาไทยมีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ ฉลากสินค้ามีความสวยงาม น่าสนใจ ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การใช้ตัวอักษรเหมาะสม

Article Details

บท
Research article

References

ชาตรี บัวคลี่. (2560). การออกแบบฉลากสินค้าด้วยกระบวนการสื่อสาร อย่างมีส่วนร่วมเพื่อ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารแปรรูปและสมุนไพรตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนในจังหวัดสมุทรปราการ. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

พีรวัส กันตาคม. (2551). การศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคต่อฉลากผลิตภัณฑ์เจสำเร็จรูปในอำเภอ เมืองเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุลัดดา พงษ์อุทธา และคณะ. (2558). การศึกษาความเข้าใจและการใช้ฉลากโภชนาการหน้าบรรจุภัณฑ์ (Front-of-pack labeling) ของประชากรไทย. สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา.

สิริพิชญ์ วรรณภาส และคณะ (2550) พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อจัดทำ หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตชุมชนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.