การประเมินโครงการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4 ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 2) ด้านกระบวนการ (Process) 3) ด้านผลผลิต (Output) และเพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4 แหล่งข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 24 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 117 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 82 คน และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาการดำเนินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แจกแจงความถี่ และการจัดลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสม 3 ด้าน ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการ (Process) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านผลผลิต (Output) ตามลำดับ
1.1 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสถานที่ดำเนินการ 1.2 ด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการวางแผนการดำเนินงาน
1.3 ด้านผลผลิต (Output) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับการประเมินภายนอกรอบ 4 และด้านผลผลิต (Output) ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านผลการจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. แนวทางการพัฒนาด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 4 ด้านสรุปได้ดังนี้ 1) จัดกิจกรรมให้ชุมชนและผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน 2) ใช้งบประมาณตรงตามแผนงานและใช้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา 3) คำนึงถึงประโยชน์ของวัสดุ อุปกรณ์ แต่ละชิ้นให้มีความคุ้มค่าต่อการใช้งานมากที่สุด 4) มีการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณรงค์ฤทธิ์ อินทนาม. (2553). การพัฒนาหลักเทียบสำหรับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิกร ศรีสุพัฒน์. (2550). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพในสถานศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ : สกส.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2546). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินภายนอกของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.