การพัฒนาคุณลักษณะการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ฐานกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ของนักศึกษาครูสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณลักษณะการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษา โดยกระบวนการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา และเพื่อศึกษาผลการถ่ายทอดคุณลักษณะการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาสู่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ผ่านฐานกิจกรรมกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาที่เรียนในรายวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกเจาะจงจากนักศึกษาโปรแกรมวิชาสังคมศึกษา และนักเรียนจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า ผลการพัฒนาคุณลักษณะการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา โดยกระบวนการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านน้ำ ด้านภาวะโลกร้อน ด้านป่าไม้ ด้านขยะมูลฝอย และด้านอากาศ ตามลำดับ และผลการถ่ายทอดคุณลักษณะการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ถ่ายทอดสู่นักเรียนผ่านกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านน้ำ ด้านภาวะโลกร้อน ด้านป่าไม้ ด้านอากาศ และด้านขยะมูลฝอย ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2529). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง.กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.
ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต : กรณีศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน. รายงานการวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง. (2523). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ยุภาดี ปณะราช. (2558). การพัฒนากิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี ฉบับที่ 2.
อุกฤต ทีงาม และคณะ (2559). “การพัฒนากิจกรรมค่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(4) :ตุลาคม-ธันวาคม.
โอภาส เกตุเดชา. (2554). การศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพวิเชียรบุรี. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.