แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

สุพรรณี จันทร์งาม
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตากและเพื่อหาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ ปีการศึกษา 2561 รวมทั้งสิ้น จำนวน 236 คน
ผลการศึกษาพบว่า สภาพการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมรับผล รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากัน ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมคิด ปัญหาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ พบว่าปัญหาที่พบมากที่สุดในด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยเฉพาะในเรื่อง ผู้ปกครองไม่ตอบแบบสอบถามที่ทางโรงเรียนขอความร่วมมือ แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นที่สรุปได้สอดคล้องกันได้แก่ ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครอง มีการอบรมให้ความรู้ เปิดเวทีให้ผู้ปกครองและครูได้มีโอกาสได้พูดคุยถึงปัญหา ความต้องการเพื่อนำไปสู่กระบวนการวางแผน เพื่อแก้ไขปัญหาของนักเรียนหรือปัญหาของโรงเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับนักเรียน ให้ผู้ปกครองได้เข้าใจระบบการบริหารงานโรงเรียน เข้าใจบทบาทของตนเอง จัดทำกรอบ ขั้นตอน กระบวนการให้ชัดเจน จัดให้มีการประชุม จัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครอง มีการอบรมให้ความรู้ เปิดเวทีให้ผู้ปกครองและครูได้มีโอกาสได้พูดคุยถึงปัญหาความต้องการเพื่อนำไปสู่กระบวนการวางแผน เพื่อแก้ไขปัญหาของนักเรียน หรือปัญหาของโรงเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับนักเรียน ให้ผู้ปกครองได้เข้าใจระบบการบริหารงานโรงเรียน เข้าใจบทบาทของตนเอง จัดทำกรอบขั้นตอน กระบวนการให้ชัดเจน จัดให้มีการประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อนักเรียน เพื่อให้เกิดมีความร่วมมือในการส่งเสริมความสามารถพิเศษได้เข้ามาช่วยเป็นวิทยากร หรือผู้ช่วยครูในการจัดกิจกรรม การทำ Work shop , School tour สร้างสนามเด็กเล่นเสริมปัญญา การจัดทำแหล่งการเรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 

Article Details

How to Cite
สุพรรณี จันทร์งาม, & ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2022). แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(9), 90–103. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/923
บท
Research article

References

กนกอร บุญกว้างและจิณณวัตร ปะโคทัง. (2559). การมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาของชุมชนกรณีศึกษา : โรงเรียนบ้านเหมือดขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1.ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (2016): มกราคม - เมษายน 2559.

ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมายและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู. (2550). พัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมายและพัฒนามาตรฐานวิชีพครู. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http : //opac.lib.buu.ac.th [2562 มิ.ย./15].

เทอดศักดิ์ จันเสวี. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนเขตเทศบาลตำบลเขตจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.gspa-sk - buu.net/theory/ 27.pdf/ [2562 มิ.ย./15].

นพดล นามวงษาและคณะ. (2551). ความต้องการการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานแนะแนวโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สระแก้ว. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

นวพรรณ เทียมรอด. (2558). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ . [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www2.feu.ac.th/acad/llrc/RPDB/detail.aspx?meta=455 [2562. มิ.ย./15].

ปารณทัตต์ แสนวิเศษ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุม ชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้น ฐานของโรงเรียนประถมศึกษา. การสร้างทฤษฎีจากฐานรากนักศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พิธีพร ภักดีพิทักษ์กุล. (2555). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาการศึกษาของศูนย์การพัฒนาการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ลลิตา ปวะบุตร. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมฤกษ์ ทิมขาว. (2551). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 .วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

สราวดี เพ็งศรีโคตร. (2554). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย.วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 7(1) : 68.

สันติ ยอเปย. (2555). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาโรงเรียนศีลรวี อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.