การประเมินโครงการ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38

Main Article Content

ธีรยุทธ ราหุระ
ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 โดยประเมินปัจจัยเบื้องต้น ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ และเพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38แหล่งข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 36 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 18 คน และครูผู้จัดการศึกษาเรียนรวม จำนวน 18 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษาเรียนรวม จำนวน 4 คน ครูผู้จัดการศึกษาเรียนรวม ที่มีประสบการณ์จัดการศึกษาเรียนรวมไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 10 คน นักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการศึกษาเรียนรวมไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 2 คน และศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบด้านการจัดการศึกษาเรียนรวม จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) แจกแจงความถี่และการจัดลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินโดยภาพรวมของการประเมินโครงการ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้จัดการศึกษาเรียนรวม 3 ลำดับแรกพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลผลิตของ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก พิการและเยาวชนพิการได้อย่างทั่วถึงครอบคลุม โดยทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ รองลงมาคือ ด้านปัจจัยด้านกระบวนการดำเนินงาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สามารถเรียงตามลำดับ ได้ดังดังนี้ ด้านการจัดกิจกรรม, ด้านการดำเนินกิจกรรม, ด้านการประเมินผล และด้านการรายงานผล โดยทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สามารถเรียงตามลำดับ ได้ดังดังนี้ ด้านบุคลากรดำเนินงาน, ด้านวัสดุอุปกรณ์, ด้านการบริหารจัดการ และด้านงบประมาณ โดยทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
2. แนวทางพัฒนาโครงการ การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 แนวทางการพัฒนาด้านปัจจัยเบื้องต้น สรุปได้ดังนี้ คือ ทำการบรรจุแต่งตั้งครูสำหรับการจัดการศึกษาเรียนรวม เขียนโครงการให้ครอบคลุมกิจกรรมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน วิเคราะห์ความพร้อมของบุคลากรต่อการจัดกิจกรรม เพื่อการจัดกิจกรรมอย่างเหมาะสม และมีการประชุม วิเคราะห์กิจกรรมและเขียนโครงการให้เหมาะสม แนวทางการพัฒนาด้านกระบวนการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้ คือ ใช้งบประมาณเพื่อนำมาทำการพัฒนาในด้านการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองให้มากขึ้น มีการบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมร่วมกันเพื่อการจัดทำรายงานผลการเรียนรู้ของนักเรียน แนวทางการพัฒนาด้านผลผลิต สรุปได้ดังนี้ มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ให้เป็นปัจจุบัน ครูผู้สอนเชื่อมโยงกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน จัดตารางเรียนที่มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และ ประชุมชี้แจงเรื่องการประเมินผลผู้เรียนเฉพาะบุคคลมาวิเคราะห์เพื่อหาปัญหาและจุดที่ต้องการพัฒนา

Article Details

บท
Research article

References

ปฐม นิคมานนท์. (2538). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษา.กรุงเทพฯ : ชมรมผู้สนใจงานวิจัยทางการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน9 ปีของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-2551).กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การวิจัยเชิงนโยบาย รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวพรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.