การศึกษาปัญหาและแนวทางการนำหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัยสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ในจังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

นงลักษณ์ ใจฉลาด
นลินี วรวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางการนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ในจังหวัดสุโขทัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ในจังหวัดสุโขทัย ได้แก่ 1) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ควรจะต้องมีการประชุมชี้แจง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและครูควรตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนในการให้ครูได้เข้ารับการอบรมหรือศึกษาดูงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น 2) ด้านการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ ควรจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและศึกษาหลักสูตรอย่างละเอียดและนำไปวางแผน โครงสร้างหลักสูตร นำไปสู่การเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับนำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กับเด็กปฐมวัยควรมีการประเมินผลการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ปรับปรุงให้มีคุณภาพและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับสายชั้นเดียวกันควรร่วมกันเขียนแผนด้วยกันและสามารถใช้แผนการจัดประสบการณ์ 3) ด้านการจัดประสบการณ์ ควรกระตุ้นให้ผู้ปกครองได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยอาจมีการจัดประชุม อบรม พบปะพูดคุยหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วม รับรู้และร่วมมือกันพัฒนาเด็กอย่างจริงจังโรงเรียนควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนของการจัดกิจกรรมในโรงเรียน โรงเรียนต้องมีความพร้อมที่จะรับคำติชมและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ด้วย เพื่อที่จะพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขในกิจกรรมต่อไปควรตระหนักเสมอว่า ชุมชนเป็นแหล่งสำคัญต่อการเรียนของเด็กและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของเด็ก ผู้บริหารควรมีบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญในการที่จะให้มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกัน ระหว่างผู้ปกครอง ชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องการปฏิบัติงานต่าง ๆ ในโรงเรียน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน 4) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งเรียนรู้ ควรมีงบประมาณที่เพียงพอหรือขอสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องเล่นสนามวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น ครุภัณฑ์ ควรให้เหมาะสมกับช่วงวัย สำหรับขนาดเครื่องเล่นและสื่ออุปกรณ์และต้องมีความสะอาดปลอดภัยในการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีการปรับปรุงวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น อยู่เสมอการวางวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เครื่องเล่น จะต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมสำหรับเด็ก 5) ด้านการประเมินพัฒนาการ ควรส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย ควรกำหนดเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจน การกำหนดวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ครูจะต้องวางแผนและกำหนดวิธีการประเมินให้เหมาะสมกับกิจกรรมปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการจัดประสบการณ์ มีการวางแผนในการออกแบบการประเมินพัฒนาการในแต่ละวัน แต่ละกิจกรรม รู้จักการสังเกตเด็กและจะต้องมีประเมินพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
นงลักษณ์ ใจฉลาด, & นลินี วรวงษ์. (2022). การศึกษาปัญหาและแนวทางการนำหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัยสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ในจังหวัดสุโขทัย. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(10), 39–52. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/928
บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เชาวรัช ศิริอำมาต. (2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 3. (การศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

นลินี วรวงษ์ และ นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2562). การศึกษาปัญหาการนำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ในจังหวัดสุโขทัย.รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่5.มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. (หน้า 141-152). จังหวัดลำปาง.

นพรัตน์ สังข์ทอง, ธนีนาฎ ณ สุนทร, และกาญจนา ภัทราวิวัฒน์. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น,กรุงเทพฯ.

บุญเชิด ชำนิศาสตร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต.(บริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

พูนสิริ มูลอินต๊ะ (2552).การจัดประสบการณ์ตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเวียงเทิง (เทิงทำนุประชา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. (การบริหาการศึกษา).มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย,เชียงราย.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิภาวรรณ จุลมุสิก. (2559). สภาพปัญหาและประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามหลัก ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาแบบอย่างจังหวัด อุทัยธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับ สังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์, 6(1), 286.

ศิริลักษณ์ ผ่องพันธ์. (2553).การสร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมทักษะทางภาษา ของเด็กปฐมวัยชาวเขาโดยใช้สื่อประสม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่.

สิทธินนท์ ห้อยพรมราช. (2557). แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในอำเภอปางศิลาทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาแพงเพชร เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์,นครสวรรค์.

สายทอง โพธิ์น้ำเที่ยง. (2550). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะบริหารงานกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มกรุงธนบุรี สังกัดกรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์ กศ.ม.(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพ ฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน.(เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์.).

อัญชลี ศรเพ็ชร. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. (การบริหาการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.