รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด

Main Article Content

นิกร ผงทอง

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Methodology) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางเพื่อกำหนดกรอบแนวคิด ในการวิจัย การสร้างเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยการวิจัยครั้งนี้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการหรือครูวิชาการในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 142 คน ได้มาโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณจำนวนกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้เทคนิคการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ระยะที่ 2 เป็น การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด เป็นการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ และสร้างคู่มือยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด 3 กระบวนการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และบทที่ 4 กระบวนการวิเคราะห์ และระยะที่ 3 เป็นการศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลเกาะกูด จำนวนทั้งสิ้น 38 คนผู้วิจัยขอสรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่ามี 8 องค์ประกอบ คือ การมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ การกำหนดเกณฑ์/ค่าเป้าหมาย การสร้างกลยุทธ์ การวางแผน การพัฒนาครู การจัดการเรียนการสอน และการนิเทศ กำกับ ติดตาม โดยความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ประกอบด้วยกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมในการยกระดับทั้ง 6 กระบวนการ ได้แก่ การวิเคราะห์ (Analysis) การสร้างกลยุทธ์ (Strategy) การวางแผน (Plan) การลงมือปฏิบัติ (Do) การทบทวนสะท้อนผล (See) และ 6) การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Redesign) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้นำรูปแบบดังกล่าวไปสร้างคู่มือ พบว่าผลการประเมินคู่มือการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก 3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด มีดังนี้  3.1 ผลการเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในปีการศึกษา 2561 กับ ปีการศึกษา 2562 มีดังนี้ 1) ผลคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศ 2 วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ 2) ผลคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบในปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 จำนวน 2 วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ 3) จำนวนนักเรียนที่ได้รับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 ในปีการศึกษา 2562 โดยมีจำนวนนักเรียนที่ได้รับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 ในปีการศึกษา 2562 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2561 จำนวน 2 วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ 3.2 ความพึงพอใจของความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ร.ส.พ.

เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์. (2560). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบการชี้แนะและการเป็น พี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ของโรงเรียนเขาทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

ประชา แสนเย็น. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยก ระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, บัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประเสริฐ จั่นแก้ว. (2560). รูปแบบการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยกระบวนการบันได 5 ขั้น สู่ความสำเร็จ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.

ประหยัด อนุศิลป์. (ม.ป.ป.). ผลของรูปแบบการบริหารสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. สืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก http://researchconference.kps.ku.ac.th/article_9 /pdf/o_edu04.pdf. [20.

ปราญชลี มะโนเรือง. (2560). ยกระดับ O-NET อย่างไร ให้ถูกทางและยั่งยืน. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.

โรงเรียนอนุบาลเกาะกูด. (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2561. ตราด: โรงเรียนอนุบาลเกาะกูด.

วิสิทธิ์ศักดิ์ ชัยเกิด. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหาร และพัฒนาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภกฤต ดิษฐสุวรรณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตาม มาตรการ 9 ส.โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 6. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2560). การนำผลการประเมินคุณภาพนักเรียนระดับชาติไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารประกอบคำบรรยาย.

อุดมสิน คันธภูมิ. (2558). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.