ผลการใช้แอพพลิเคชั่นควิซยัวร์อิงลิช รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Main Article Content

ศรวัส ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แอพพลิเคชั่น Quiz Your English รายวิชา ภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษาศึกษา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้แอพพลิเคชั่น Quiz Your English รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษาศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง คือนักศึกษาห้องเรียนที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอพพลิเคชั่น Quiz Your English สำหรับการสอนใน รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบทดสอบความรู้ความสามารถพื้นฐานด้านการใช้ภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้แอพพลิเคชั่น Quiz Your English รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผลการวิจัยพบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แอพพลิเคชั่น Quiz Your English รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการ เรียนด้วยแอพพลิเคชั่น Quiz Your English รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับครูสังคมศึกษา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research article

References

เขมกร อนุภาพ. (2560). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บน ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. ปราจีนบุรี: เทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ.

ญาดา อรรถอนันต์ และคณะ. (2560). แอปพลิเคชันส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยิน. การสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 9 2560. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2558). ผลการใช้แอปพลิเคชั่นสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1030-1045.

วรัษฐา เสรีวิวัฒนา. (2555). การพัฒนาแอพพลิเคชั่น วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องรูปสี่เหลี่ยมสำหรับไอโอเอส บนอุปกรณ์แท็บเล็ต ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สวียา สุรมณี และ รุ้งนภาพร ภูชาดา. (2558). การพัฒนาเกมแอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้บนแท็บเล็ตเรื่อง องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที 4. ประชุมวิชาการ NCTIM 2015. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

สมบัติ สุวรรณพิทักษ์. (2543). เทคนิคการสอนแนวใหม่สำหรับการศึกษานอกโรงเรียน: การจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาการศึกษาโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ปรัชญาการอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา.[ออนไลน์].แหล่งที่มา: http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/Data%20Bhes_2559/04052559.pdf [21 มิถุนายน 2560].

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Knowles, Malcolm. S. (1975). Self – Directed Learning. A Guide for Learners and Teachers. New York : Association Press.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.