การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมค่ายวิชาการ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านชัยภูมิ จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

มานพ ศรีเทียม
ศุภรดา สุขประเสริฐ
อมรา ศรีแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้กิจกรรม ค่ายวิชาการของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านชัยภูมิ จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมค่ายวิชาการ และเพื่อประเมินความพึงพอใจของการจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านชัยภูมิ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 66 คน โดยเป็นนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยวิธีการทางสถิติ t-test Dependent และการประเมินความพึงพอใจของการจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมค่ายวิชาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
มานพ ศรีเทียม, ศุภรดา สุขประเสริฐ, & อมรา ศรีแก้ว. (2022). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมค่ายวิชาการ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านชัยภูมิ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(10), 95–104. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/932
บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2552). วิกฤติ กระบวนทัศน์ มโนทัศน์ เพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์. (2517). ชุมนุมภาษาไทย : การเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกระแสพระราชดำรัสเรื่อง ปัญหาการใช้ภาษาไทย. พระนคร:คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารุนนีย์ สวัสดิโชตติ์, ศิริรัตน์ อินทรเกษม และพะยอม สินธุศิริ. (2557). “ผลของโครงการบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนต่อผลสัมฤทธิ์ความรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม”. ในวารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, ปีที่ 24(3), หน้า 51-65.

ทิศนา แขนมณี. (2543). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ฟารีดา กิตติวิโรจน์ และคณะ. (2560, มกราคม-มิถุนายน). “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการบริการวิชาการค่ายภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส”. ในวารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 4 (1), หน้า 15-26.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.