การศึกษาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมร่วมมือแบบ Team Pair Solo

Main Article Content

นางสาวกมลชนก แก้วชื่นชัย
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
ชารี มณีศรี
สมบัติ มหารศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมร่วมมือแบบ Team Pair Solo ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการคิดคำนวณ ด้านทักษะการแก้ปัญหา ด้านทักษะการทำงานกลุ่ม และด้านเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ และเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 10 แผน ชุดกิจกรรม 10 ชุด แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดคำนวณ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบวัดทักษะการทำงานกลุ่ม และแบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านทักษะการคิดคำนวณ ด้านทักษะการแก้ปัญหา ด้านทักษะการทำงานกลุ่ม และด้านเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
นางสาวกมลชนก แก้วชื่นชัย, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, ชารี มณีศรี, & สมบัติ มหารศ. (2022). การศึกษาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดกิจกรรมร่วมมือแบบ Team Pair Solo. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 6(11), 1–24. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/EJFE/article/view/939
บท
Research article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กาญจนา เงารังษี และเพ็ญณี แนรอท. (2557). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่อง การสังเคราะห์นวัตกรรมการเรียนการสอนจากผลงานวิจัยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ชวนพบ เอี่ยวสานุรักษ์. (2547). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง “การลบ” สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา. ถ่ายเอกสาร.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ:บริษัท แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(3), 126-139.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องสถานภาพและความต้องการที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนสรรค์สร้างความรู้ด้วยตนเองของผู้บริหาร ครูและนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพิษณุโลก. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุพรรณี อภิชัยเอนก. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือที่ส่งเสริมการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนเรศวร).

Kagan, S. (2001). Kagan Structures for Emotional Intelligence. Kagan Online Magazine. Retrieved 2nd June 2015.

Vygotsky, L. (1978). Interaction between learning and development.