การพัฒนากลยุทธ์บริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Main Article Content

ณรงค์ กิตติวงศ์ตระกูล

บทคัดย่อ

การศึกษา เรื่อง การพัฒนากลยุทธ์บริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความขัดแย้ง และการบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียน: ศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และ 3) ศึกษาผลการนำกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน ไปใช้กับโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพความขัดแย้ง และการบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 355 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดตัวอย่างของยามาเน่ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน ผู้วิจัยได้จัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักวิชาการด้านการศึกษา จำนวน 13 คน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลที่เกิดจากการนำกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียนไปใช้กับโรงเรียนศรีราชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นนี้ ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 369 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดตัวอย่างของยามาเน่เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพความขัดแย้ง และการบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 พบว่าสภาพความขัดแย้งในโรงเรียนศรีราชาที่ผ่านมา โดยภาพรวมมีสภาพความขัดแย้งอยู่ในระดับมาก สาเหตุความขัดแย้งในโรงเรียนศรีราชาที่ผ่านมา ได้แก่ การไม่เปิดโอกาสให้บุคคลต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและดำเนินโครงการหรือกิจกรรม เป็นสาเหตุความขัดแย้งมากที่สุด รองลงมา คือ การเอาเรื่องส่วนตัวปะปนกับงาน และไม่มีการกระจายอำนาจ ตามลำดับ ส่วนสาเหตุความขัดแย้งที่น้อยที่สุด คือ การแย่งทรัพยากรที่ต้องใช้ร่วมกัน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่ม ภาพลักษณ์ของสถานศึกษาไม่ดี และทำลายขวัญและกำลังใจในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ผู้บริหารมีพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในโรงเรียนที่ผ่านมา พบว่า ผู้บริหารมีพฤติกรรมแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยการหลีกเลี่ยง (Avoiding) มากที่สุด และพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในโรงเรียนผ่านมาน้อยที่สุดคือด้านการร่วมมือ ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องการให้ผู้บริหารสถานศึกษายึดหลักความเสมอภาค ความยุติธรรม และการกระจายความเป็นธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง และการแสวงหาคู่แข่งภายนอก เพื่อทำให้คนภายในหน่วยงาน เกิดความสามัคคีและร่วมมือกันทำงาน ส่วนความต้องการน้อยที่สุด คือ การสร้างช่องทางในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้หลากหลายและทั่วถึง 2. ผลการพัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลยุทธ์หลัก มี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กลยุทธ์พัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ กลยุทธ์เสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและสร้างขวัญกำลังใจ และกลยุทธ์สร้างระบบบริหารจัดการสถานศึกษาที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์รอง มี 12 กลยุทธ์ และกลยุทธ์ระดับโครงการและกิจกรรม เป็นกลยุทธ์ที่สนับสนุนการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์รอง จำนวน 52 กิจกรรม 3. ผลที่เกิดจากการนำกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียนไปใช้กับโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 พบว่า 1) คุณภาพของผู้เรียนกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้ง 3 ด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับยอดเยี่ยม และ 2) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนศรีราชา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 พบว่าความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research article

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2561). อารยสามัคคี: พลังสามัคคีบนฐานความดี ความงาม ความจริง. เข้าถึงได้จาก ttp://www.kriengsak.com/node/2364 วันที่สืบค้น 9 ธันวาคม 2561.

ข่าวช่องวัน. (2561). นักเรียนชุมนุมไล่ ผอ.โรงเรียน . [วีดิทัศน์] เข้าถึงได้จาก https://web.facebook.com/onenews31/posts/1635572043197931/?_rdc=1&_rdr (13 กุมภาพันธ์ 2561).

เขมมารี รักษ์ชูชีพ. (2553). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ : ทริปเปิ้ล กรุ๊ฟ.

ชนินทร์ ไวถนอมสัตว์. (2556). ยุทธศาสตร์การสร้างความสมานฉันท์ภายในโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์. การศึกษาอิสระครุศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชลบุรีทีวีออนไลน์ (2561). นักเรียนประท้วงไล่ผอ.โรงเรียนชื่อดังในอำเภอศรีราชา. [วีดิทัศน์] เข้าถึงได้จาก https://web.facebook.com/watch/?v=375532169584378 (13 กุมภาพันธ์ 2561).

ชัยเสฎฐ์ พรหมศรี. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ณรงค์ กังน้อย. (2555). ยุทธวิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันราชภัฏนครปฐม.

ถวิล เกื้อกูลวงศ์. (2550). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : ทฤษฎี วิจัย และการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : วัฒนพานิช.

ทองหล่อ เดชไชย. (2554). การบริหารความขัดแย้ง. เข้าถึงได้จาก http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Conflict_Management-2.htm.วันที่สืบค้น 9 ธันวาคม 2561.

ผู้จัดการออนไลน์. (2561). เรื่องไม่จบ กรณีนักเรียนชุมนุมไม่พอใจ ผอ.โรงเรียนศรีราชา. [วีดิทัศน์] เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/local/detail/9610000014839 (13 กุมภาพันธ์ 2561).

พรินศักดิ์ โพธิ์เผือก. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

พีพีทีวี. (2561). นักเรียนศรีราชาขับไล่ ผอ. โวยไม่พัฒนาโรงเรียนแถมเก็บเงินเพิ่ม [วีดิทัศน์] เข้าถึงhttps://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9BE0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/75780 (13 กุมภาพันธ์ 2561).

มติชนออนไลน์. (2561). นักเรียน 1พันคน ประท้วงผอ.รร.ศรีราชา. [วีดิทัศน์] เข้าถึงได้จากhttps://www.matichon.co.th/education/news_840466 (13 กุมภาพันธ์ 2561).

วันชัย วัฒนศัพท์ และรัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์. (2552). การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). 2540. ความขัดแย้ง : การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์ต้นอ้อ.

อารีรัสมิ์ วัฒนทองผิว. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา, ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Morrison, M. (1993). Professional Skill for Leadership. St.Louis : Mosby-year Book.

Stephen P. Robbins. (1990). Organization Theory : Structure Design and Application. 3rded. New Jersey : Prentice-Hall.